วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2561

มารู้จัก LoRa IoT by CAT กันดีกว่า ???


มารู้จัก LoRa IoT by CAT กันดีกว่า ???
              ก่อนอื่นเรามารู้จักกับ LoRa กันก่อนนะคับ Lora มาจากคำว่า Long Range ซึ่งก็มาจากความต้องการที่จะสื่อสารข้อมูลแบบไร้สายที่สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างไกล โดยเน้นการใช้พลังงานต่ำ (Low Power Wide Area Network : LPWAN) ซึ่งเหมาะกับงานประเภท IoT หรือ Internet of Things นั่นเอง
             เทคโนโลยี LoRa เกิดจากการเลือกใช้มอดูเลชันแบบ chirp spread spectrum โดยจะกระจายรหัสข้อมูลไปในช่องความถี่ต่างๆด้วยการปรับแต่งค่า spreading factor (SF) ตั้งแต่ SF7-12 ทำให้มีความไวต่อการรับสัญญาณมากขึ้น ทนทานต่อสัญญาณรบกวนสูง และยังกินพลังงานต่ำลงด้วย แต่การส่งข้อมูลก็จะช้าลง-น้อยลงตามจำนวนช่องสัญญาณที่ใช้ด้วย ซึ่ง Semtech เป็นเจ้าของเทคโนโลยี และเป็นผู้พัฒนา ตัวชิพสื่อสาร ทั้งนี้ตัวชิปเองจะทำงานเพียงระดับ PHY (half duplex) และบางฟีเจอร์ของเลเยอร์ Data Link (ตรวจจับ preamble แล้วจับเฟรมข้อมูล)เท่านั้น โดยจะส่งผ่านข้อมูลไปยังหน่วยประมวลผลที่จะต้องจัดการส่วนโพรโทคอลในชั้นที่เหลือเอง

จุดเด่นที่สำคัญๆของ เทคโนโลยี LoRa นั้น จะเน้นเรื่องการใช้พลังงานที่ต่ำมาก สามารถทำงานโดยแบตเตอรี่ได้หลายปี และยังส่งข้อมูลได้ค่อนข้างไกล จากที่เห็นผู้พัฒนาหลายๆท่านได้ลองทำการทดสอบ ระยะทางการส่งสัญญาณ ของ Gateway ก็ได้ 20 -40 Km เลยที่เดียว แต่การใช้งานในเมืองน่าจะได้ 5 - 10 Km เท่านั้น  นอกจากนี้ ยังสามารถเชื่อมต่อ Gateway เข้ากับเครือข่าย Internet เพื่อใช้งานร่วมกันเป็นโครงข่าย เรียกว่า LoRAWAN อีกด้วย


             และในปี 2561 นี้ ทาง CAT ก็กำลังจะเปิดให้บริการ LoRa IoT by CAT โดยใช้คลื่นความถี่  920-925 MHz หรือย่านความถี่แบบ unlicensed band สามารถใช้งานได้ โดยที่ไม่ต้องขออนุญาต กสทช (ถ้ากำลังส่งไม่เกิน 500 mWatt ) โดยจะเริ่มมีพื้นที่ให้บริการใน 13 จังหวัด รวมกรุงเทพฯ ด้วย ผมซึ่งประมาณการว่าน่าจะสามารถเปิดให้ใช้บริการได้ภายในปลายไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 นี้ และอาจจะสามารถให้บริการได้ทั่วประเทศภายในต้นปีหน้า

             สำหรับการใช้บริการ LoRaWAN ของ CAT นั้น ทาง CAT คิดค่าบริการต่อปี ปีละ 300 บาท/อุปกรณ์ และทาง CAT เองก็มีการเปิดให้ PreOrder อุปกรณ์ LoRa Module ราคา 590  บาทและ LoRa Starter Kit ราคา 1,290 บาท ฟรีค่าบริการรายปี 300 บาท ในปีแรก ทางหน้า web : https://loraiot.cattelecom.com/  สำหรับรายละเอียดหรือ Spec ของอุปกรณ์ทาง CAT ยังไม่มีให้ Download นะครับ


             โดยผู้ที่สนใจจะต้องกรอกข้อมูลเบื้องต้น เพื่อทำการ Pre Order อุปกรณ์ และจะได้รับ mail จาก CAT เพื่อยืนยันการสั่งอุปกรณ์อีกครั้ง (ระยะเวลาที่ได้รับ mail อาจจะนานหน่อยนะครับ เพราะผมเองกว่าจะได้ก็ประมาณ 2 เดือน แต่เห็นรอบหลังๆน่าจะได้รับ mail เร็วขึ้นกว่าเดิมแล้ว) ซึ่งอุปกรณ์ก็น่าจะได้ประมาณช่วงปลายไตรมาส 2 ปี 2561 ใกล้ๆกันกับการเปิดให้บริการ หรือทดสอบระบบใน 13 จังหวัดที่กล่าวมาครับ


             แถมยังประกาศจะให้อุปกรณ์ "สำหรับหน่วยงานที่สนใจพัฒนาอุปกรณ์สามารถติดต่อรอรับบอร์ดโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ด้วย" (cr:https://www.blognone.com/node/101018) อีกด้วย  ซึ่งผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่โทรเข้าไปสอบถามกับทาง CAT มาแล้ว และเค้าก็ให้ส่ง email แจ้งรายละเอียดความสนใจ ระบบที่พัฒนา ความจำเป็น และรายละเอียดของเรา ไปให้พิจารณาก่อน ที่ iot@cattelecom.com ซึ่งก็คงต้องรอลุ้น email ตอบกลับมาก่อนว่าจะให้จริงหรือไม่ให้ 555
             แต่สำหรับคนที่คิดจะหาอุปกรณ์เอง ก็สามารถหาได้ทั่วไปทาง Internet ครับ ขอแค่ Spec รองรับการใช้งานความถี่ US915 ได้ ก็สามารถใช้งาน AS923 ที่ CAT จะให้บริการอยู่ได้แล้วครับ
             ทีนี้เพื่อนๆคงรู้จัก LoRa IoT by CAT กันคราวๆแล้วนะคับ ถ้าใครมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมกับทาง CAT ได้ทาง email : iot@cattelecom.com หรือ โทร. 02-104-4283,4829 ได้โดยตรงเลยนะครับ

*** รอบหน้าผมจะมาอธิบายวิธีการทำงานของเทคโนโลยี LoRa ว่ามันส่งข้อมูลกันยังไง มีข้อจำกัดแบบไหน(เอาเท่าที่ผมเข้าใจนะครับ) และการวิธีใช้งาน LoRa ผ่าน โครงข่ายของ CAT ว่าต้องทำอย่างไรบ้างถึงจะใช้งานได้ครับ


cr : https://loraiot.cattelecom.com/