วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2561

อุปกรณ์ LoRa (SX1276 868MHz/915MHz ESP32 LoRa Module Bluetooth WIFI Kit IOT Development board)

                      วันนี้เราจะมาพูดถึงอุปกรณ์ LoRa Node(SX1276 868MHz/915MHz ESP32 LoRa Module Bluetooth WIFI Kit IOT Development board) หรืออุปกรณ์ที่เอาไว้เชื่อมต่อระหว่าง Sensor และ Gateway LaraWAN ที่สามารถใช้งานผ่านโครงข่าย LoraWAN AS923MHz ของ CAT กันนะครับ

                      ที่เลือกตัวนี้เพราะใช้ Board ESP32 ที่มี Interface WiFi ,BLE low-power Bluetooth และสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายผ่าน โปรแกรม Arduino IDE ซึ่งมี Free Libraries ทั้งยังมีตัวอย่าง Code อยู่มากมายใน Internet ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

                      ESP32 ถูกพัฒนาต่อจาก ESP8266 โดยเพิ่มความสามารถหลายๆด้านให้เหนือกว่า ESP8266 ที่เห็นได้ชัด คือ มีพอร์ต DAC , Blutooth มและยังมีเซ็นเซอร์ติดมากับตัวบอร์ด นั้นก็คือเซ็นเซอร์สัมผัส เซ็นเซอร์อุณหภูมิ และเซ็นเซอร์วัดคลื่นแม่เหล็กรบกวน แต่ ESP32 ไม่สามารถเขียน Code แบบอนาล๊อค PWM เหมือน ESP8266 ได้นะคับ เช่น analogWrite(5, 1023);
                      ฟีเจอร์หลัก
                      240 MHz dual core Tensilica LX6 microcontroller with 600 DMIPS
                      Integrated 520 KB SRAM
                      Integrated 802.11 b/g/n HT40 Wi-Fi transceiver, baseband, stack and LwIP
                      Integrated dual mode Bluetooth (classic and BLE)
                      16 MB flash, memory-mapped to the CPU code space
                      2.3V to 3.6V operating voltage
                      -40°C to +125°C operating temperature
                      On-board PCB antenna / IPEX connector for external antenna
                      มาตรฐานรองรับด้านความปลอดภัย
                      WEP, WPA/WPA2 PSK/Enterprise
                      Hardware-accelerated encryption: AES/SHA2/Elliptical
                      Curve Cryptography/RSA-4096
                      ความสามารถ
                      Max data rate of 150 Mbps@11n HT40, 72 Mbps@11n HT20, 54
                      Maximum transmit power of 19.5 dBm@11b, 16.5 dBm@11g, 15.5 dBm@11n
                      Minimum receiver sensitivity of -97 dBm
                      5 μA power consumption in Deep-sleep
  • MicroPython-ESP32 รองรับการใช้งานพื้นฐานภาษา Python ส่วนใหญ่ได้ รองรับการจัดการ WiFi การเชื่อมต่อต่างๆ ของ ESP32
  • Espruino on ESP32 ใช้ภาษา JavaScript ในการสั่งงานและรองรับการเขียนโปรแกรมแบบ Text
  • ภาษาบล็อก (Block) และ LuaNode ก็รองรับคำสั่งที่ใช้บน Lua จริง ๆ แทบทุกคำสั่ง และรองรับการควบคุม WiFi ได้เต็มรูปแบบ

                      ที่นี้เรามาดู ESP32 with module Lora SX1276 ที่สามารถใช้งานผ่าน Lora Network ของ CAT ได้ ว่าเป็นยังไงกันบ้าง
                      Technical Parameters ESP32 with Module Lora SX1276 :
                      Flash: 32M-Bits
                      Processor: for Tensilica LX6 Dual Core
                      Master chip: ESP32
                      LoRa chip: SX1276
                      Support frequency band: 868-915MHZ
                      Open communication distance: 2.8KM
                      Computing capacity: up to 600DMIPS
                      Dual-mode Bluetooth: traditional Bluetooth and BLE low-power Bluetooth
                      Development environment: perfect support for Arduino
                      Operating voltage: 3.3-7V
                      Operating temperature range: -40-90 ℃
                      Receiver sensitivity: -139dBm (SF12, 125KHZ)
                      UDP continuous throughput: 135Mbps
                      USB adapter chip: CP2102
                      Support mode: Sniffer, Station, softAP and Wi-Fi Direct
                      Transmit power: 19.5dBm@11b, 16.5dBm@11g, 15.5dBm@11n
                      Data rate: 150Mbps @ 11n HT40, 72Mbps @ 11n HT20,
                      54Mbps @ 11g, 11Mbps @ 11b
                      จาก Spec จะเห็นว่ามันก็คืออุปกรณ์ ESP32 ที่มี WiFi และ Bluetooth แต่เพิ่ม Module การสื่อสาร LoRa SX1276 แถม Board ตัวนี้ยังต่อจอขนาด OLED 0.96 นิ้ว มาให้ในตัวอีกด้วย



                      สรุป : ESP32 เป็นชิป IC microcontroller 32 บิต หรือเรียกกันว่า MCU นั้นเอง และยังมี media หรือสื่อสัญญาณที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารเป็นทั้ง WiFi และบลูทูธเวอร์ชั่น 4.2 ในตัว (ในบทความนี้เราเพิ่ม Module LoRa มาให้เลือกใช้อีกหนึ่งตัวครับ) ESP32 สามารถเขียนได้ด้วย Lua, Python, JavaScript, C ซึ่งค่อนข้างจะเขียน Code และใช้งานง่ายกว่าอุปกรณ์อื่น ทำให้มีผู้ใช้งานจำนวนมาก Libraries ก็มีให้เลือกใช้หลากหลาย ราคาถูก เหมาะสำหรับงานถ้าใครอยากลองเล่น EPS32 ก็สามารถหาซื้อบน Internet ได้ทั่วไปเลยครับ