วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิธีการสมัครใช้งาน DynDns (DDNS) ฟรี


          บริการหรือข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดใช้ DynamicDNS service ซึ่งก่อนที่จะมี account และชื่อ dyndns ก็ต้องเข้าไปสมัครที่ http://www.dyndns.com/ ก่อนนะครับ ถึงจะเอาค่ามากรอกลงไปได้ซึ่ง

Service Provider: ก็คือ dyndns.com ที่เราไปขอใช้บริการ
Host name: ก็คือชื่อ dyndns ที่เราสร้างขึ้นมา
User name: ก็คือ account ที่เราต้องทำการสมัครก่อนที่จะสร้าง host name
Password: ก็คือ password ของ account ของเรานั่นเองครับ

          ซึ่งเว็บ dyndns.com หรือ dyn.com ยังเปิดให้ใช้งาน ฟรี อยู่ เพี่ยงแต่วิธีการ และ นโยบายในการสมัครได้เปลี่ยนไป จากเดิมที่เคยสมัคร free account หน้าเว็บได้เลย วันนี้ทาง Dyn ได้เปลี่ยนขั้นตอนตามที่ทางทีมงานได้นำเสนอด้านล่างนี้
          หลักการก็คือว่า Dyn จะให้เราสมัครเป็น Pro account เพื่อทดลองใช้งานก่อน 14 วัน โดยไม่เสียค่าบริการ และภายใน 14 วัน หากเรายกเลิก Pro account  Dyn จะเปลี่ยนสถานะจาก Pro account เป็น Free account ให้เราโดยอัตโนมัต และสามารถใช้งานได้ตลอดไปเหมือนเมื่อก่อน
          แต่ผู้ใช้ต้อง Login เข้า DynDNS ด้วย Username และ Password ที่สมัครไว้กับทาง DynDNS ทุกๆ 30 วัน ซึ่งถ้าหากไม่มีการ Login ทาง DynDNS จะลบ Hostname ของเราทิ้งทันที ทำให้เราไม่สามารถเข้าใช้งาน Hostname ตัวนั้นได้

ข้อแตกต่างระหว่าง  Pro กับ Free เช่น

  • Pro จะได้ hostname มากถึง 30 hosts แต่ Free มีได้เพียง host เดียว (ซึ่งปกติเราก็ใช้ host เดียว)
  • Free account ต้องใช้งานเป็นประจำ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ถึงจะคงสถานะ Free account แต่ Dyn จะส่งอีเมลมาเตือนเรา หากไม่มีการมช้งานเลย ซึ่งเราสามารถคลิกที่ link ในอีเมล เพื่อ activate account นั้นให้กลับมาใช้งานได้อีก ส่วน Pro account จะคงสถานะเป็น active ตลอด

วิธีการสมัคร:

 1. ให้ไปที่หน้า http://dyn.com/dns/dyndns-pro-free-trial/ เพื่อสมัครใช้งานแบบทดลองใช้ Pro account 14 วัน
 2. ใส่ชื่อ hostname ที่เราต้องการ และกด add to cart ตามรูป
 3. ให้กรอกข้อมูล username password และ อีเมล เพื่อสร้าง account ใหม่
 4. ระบบส่งอีเมล ไปยังอีเมลที่เรากรอกไว้ เพื่อให้เราเข้าไปคลิก activate
 5. ให้ทำการคลิกที่ link ในอีเมลของเรา เพื่อ activate ใช้งาน
 6. กด Proceed to checkout
 7. ใส่ข้อมูลบัตรเครดิตของเรา ระบบจะไม่ทำการ charge บัตรเรา แต่จะเก็บข้อมูลของบัตรเครดิตเราไว้ หากเราไม่ยกเลิกภายใน 14 วัน ระบบจะทำการเรียกเก็บเงินเราเพื่อใช้งานแบบ Pro account ต่อ (ในตอนนี้ จำนวนเงินจะแสงเป็น 0 USD)
 8. ระบบจะแจ้งว่าคุณสามารถทดลองใช้งานแบบ Pro ได้แล้ว 14 วัน
 9. ให้ทำการยกเลิก Pro account เพื่อเปลี่ยนเป็น Free account ตลอดไป โดยทำตามรูป
 10. กดปุ่ม delete service เพื่อทำการลบ cancel Pro account
 11. เมื่อลบแล้วระบบจะเปลี่ยนสถานะเป็น free account ทันที
 12. ต่อไปให้ทำการลบข้อมูลบัตรเครดิตของเรา โดยการเลือก Billing Profile
 13.  ติ๊กถูกที่ช่อง แล้วกด Delete Save Cart ตามรูป
 14. เพียงเท่านี้คุณก็สามารถใช้งานโฮส Dyn ได้ฟรี ตลอดไป

ส่วนวิธิการทดสอบว่ามันทำงานได้จริงหรือไม่ก็ไม่ยากครับ

1. ดูให้ได้ว่า router ของเราที่ได้ IP จริงจาก ISP เป็น IP อะไร
2. ลองทำการใช้คำสั่ง ping sample.dyndns.org (ชื่อ dyndns ที่เราขอไว้และกรอกบน router) และดูว่ามัน reply กลับมาเป็น IP จริงที่ ISP ให้มาหรือเปล่า
3. ถ้าตรงกัน แสดงว่า … ทำงานได้แล้วครับ
4. หรือไม่ก็เข้าที่ Run ใน start menu ของ windows แล้วพิมพ์ cmd กด Enter
5. พืมพ์ nslookup
6. จะมีเครื่องหมาย >
7. ให้พิมพ์ sample.dyndns.org ต่อจากเครื่องหมาย >
8. ตัวอย่าง
###############################################################
C:\Documents and Settings\Administrator>nslookup sample.dyndns.org
Default Server: ns1.dyndns.org
Address: 210.1.60.225
> sample.dyndns.org
 Name:    ns1.dyndns.org
 Address:  210.1.60.225
###############################################################


ลองมาดูวิธีสมัคร NO-IP กันบ้าง "วิธีการสมัครใช้งาน NO-IP (DynDNS) และ Add hostname อย่างละเอียด ฟรี"


CR : https://www.evo.in.th/knowledgebase/5/Dyndns--.html
         http://www.ranthong.com/smf/index.php?topic=36407.0
         http://newskycctv.net/free-dyndns-ddns/

ถ้าไม่มี Public IP จะดูกล้อง CCTV ยังไง (DynamicDNS คือ ?)


            ตามที่เราทราบกันในหัวข้อ "จะทำให้ CCTV ดูผ่าน Internet ต้องทำไงบ้าง?" แล้วนะครับว่าเมื่อใดก็ตามที่คุณทำการตัดการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแล้ว IP Address ดังกล่าวก็จะถูกแจกจ่ายไปให้คนอื่นๆ ที่ทำการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนั่นเองครับ เค้าถึงเรียกว่า Dynamic IP ไงครับ หากเมื่อไรก็ตามที่คุณต้องการที่จะสร้างเกมส์เซิฟเวอร์หรือเว็บเซิฟเวอร์เอง หรือบริการใดๆ ก็ตามที่ต้องการให้คนจากทั่วโลกทำการเชื่อมต่อมาที่เซิฟเวอร์ของคุณได้ แน่นอนครับ … เค้าจำเป็นที่จะต้องรู้ IP Address ของคุณนั่นเอง ซึ่งสิ่งนี้จะไม่ง่ายเลยครับถ้า IP Address ที่คุณได้มาเป็นแบบ Dynamic ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอๆ เพราะว่าคุณจำเป็นที่จะต้องบอกผู้คนที่ต้องการเข้ามาใช้บริการที่เครื่องเซิฟเวอร์ของคุณว่าต้องนี้ IP Address ของคุณเปลี่ยนเป็นเบอร์อะไรไปแล้ว (จินตนาการง่ายๆ หากคุณเปลี่ยนเบอร์มือถือของคุณทุกๆ วันนั่นแหละครับ… เหนื่อแน่ๆ ที่จะต้องมานั่งบอกคุณที่อยากจะติดต่อกับคุณ)

Check IP ของคุณที่นี่ "http://www.checkip.org/"

            ดังนั้นเมื่อ IP Address ของเราเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาหากเรามีความจำเป็นต้องใช้งานต่างๆ ฯลฯ ที่ต้องมีการใส่ค่า IP Address ของเครื่องเราหล่ะทำอย่างไร เช่น การ Remote Desktop, การเข้า FTP, การเข้า WebAccess, เล่นเกม หรือดูกล้อง CCTV ของเรา

            คำตอบก็คือเราต้อง Fix IP ให้เครื่องของเราเพื่อจะให้ใช้บริการเหล่านั้นได้ไม่ว่าจะเป็น Private IP หรือ Public IP ซึ่งก็แล้วแต่บริการที่เราต้องการจะใช้งาน

            การ Fix IP ที่เป็น Public IP นั้นง่ายกว่าการ Fix Private IP เพราะเมื่อเราซื้อ Public IP แล้วก็สามารถกำหนดใช้งาน IP นั้นๆที่ไหนก็ได้แต่ก็ต้องเสียเงินเพิ่มในส่วนของ Public IP ส่วนการ Fix Private IP ที่ ISP จ่ายให้เรานั้นจะต้องไปติดต่อให้  ISP ที่ให้บริการเราเป็นผู้ทำให้ ซึ่งค่อนข้างยุ่งยากและไม่แน่ใจว่าจ้องจ่ายอะไรเพิ่มอีกมั้ย

แต่ถ้าเราไม่ต้องการจะจ่ายเพิ่มและเราก็ไม่มี Public IP ละจะต้องทำยังไง ?

            จากปัญหาดังที่พูดไปนั่นแหละครับ เลยมีบริการที่เค้าเรียกว่า DynamicDNS เกิดขึ้นมาครับ ก็เพื่อที่จะเชื่อมโยงชื่อซักชื่อที่เราขอบริการ(บ้างก็ฟรีบ้างก็เสียเงิน) มาเชื่อมโยงกับ IP Address ที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลานั่นไงครับ ซึ่งหลังจากที่ทำการเชื่อมโยงเสร็จแล้ว คุณก็ไม่จำเป็นต้องจำและไปบอกใครๆ ว่า IP Address ของคุณคือเบอร์อะไร … แต่ใช้ชื่อแทนไงครับ … อย่างเช่นเว็บของเฮียตี๋ จดทะเบียนชื่อ suchinko.com เพื่อให้ง่ายต่อการจำ แล้วผมก็เซ็ตระบบโดยที่บอกว่า เมื่อไรก็ตามที่มีคนเข้าเว็บ suchinko.com ระบบจะทำการส่งต่อมาที่ชื่อ suchinko.dyndns.org ซึ่งเป็นชื่อที่ผมไปขอใช้บริการมาฟรีๆ จาก DynamicDNS.com เพื่อที่จะเอาชื่อ suchinko.dyndns.org มาเชื่อมโยงกับ IP Address ที่ ISP ให้ผมมาซึ่งมันจะเปลี่ยนไปตลอดเวลานั่นเองครับ … เป็นไงครับ พอจะเข้าใจหรือยังว่า DynamicDNS คืออะไร

            มาดู "วิธีการสมัครใช้งาน DynDns (DDNS) ฟรี"

***แต่การใช้งาน DynamicDNS นี้ใช้กับพวก 3G (cellular) ทั้งหลายไม่ได้นะคับ เพราะ IP ของ SIM ที่ได้นั้นเป็น Private IP เวลาจะออก Net จะติด NAT ของเครือข่าย การแก้ปัญหาก็คงต้องกลับไป Fix IP ที่ SIM อีกเหมือนเดิมนั้นละคับ

            มาดู "บริการ CCTV ผ่านระบบ 3G my by CAT"
                    "ข้อแตกต่างการทำ Free DynamicDNS ระหว่าง 3G กับ ADSL"



CR : if2u
http://www.suchinko.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&No=484333

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

3G : 850 กับ 2100 ต่างกันยังไง


        นับตั้งแต่ประเทศไทยสิ้นสุดการประมูลคลื่น 3G บนความถี่ 2100MHz ไป ก็มีการใช้ข้อความโฆษณาออกมาทำนองว่าตอนนี้ 3G ของแท้มาแล้ว ที่ผ่านมาเราใช้ 3G เทียมหรือ 3G ปลอมกันอยู่ อะไรแบบนี้ แล้วความจริงมันปลอมหรือไม่กันแน่?
        เรื่องที่ต้องทำความเข้าใจคือเดิมเราใช้เครือข่าย 2G ซึ่งถูกกำหนดย่านความถี่เอาไว้แล้ว ขณะที่แนวคิดของ 3G ไปจนถึง 4G คือการเอาความถี่ที่เหลือมาใช้ ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีการประมูล 3G นั้น เรามีการนำคลื่นที่ความถี่ต่างๆ มาใช้งานแยกประเภทได้ดังนี้
850 MHz – 3G ของ TruemoveH, dtac ,my by CAT
900 MHz – 2G และ 3G AIS
1800 MHz – 2G ของ Truemove, dtac
จะเห็นว่าเดิมเราก็มีการใช้คลื่นบางความถี่สำหรับ 3G โดยเฉพาะอยู่แล้ว เพียงแต่คลื่นเหล่านั้นอยู่บนความถี่ 850 MHz และ 900 MHz ซึ่งบางความถี่มีการปะปนกับ 2G มันจึงให้บริการได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
ในส่วนของการมีความถี่ใหม่ 2100 MHz ออกมาเพิ่มนั้น ก็เกิดจากการเปิดประมูลของกสทช. ซึ่งแต่ละค่ายก็จะใช้ประโยชน์จากคลื่นใหม่นี้เพิ่มเติมนั่นเอง ทั้งหมดนั้นไม่ได้เกี่ยวกับเรื่อง 3G ของแท้ / ของเทียม แต่อย่างใด
ข้อแตกต่าง 3G ความถี่ 850 MHz กับ 2100 MHz
เมื่อรู้แล้วว่าไม่มีของปลอมแต่อย่างใด คำถามต่อมาก็คือแล้วที่ความถี่แตกต่างกันนี้ 3G บนความถี่ 850 MHz กับ 2100 MHz ต่างกันตรงไหน
        เรื่องน่าสนใจคือ ความถี่ที่ยิ่งสูงนั้น จะมีพื้นที่กระจายสัญญาณแคบ ต้องวางเสากระจายสัญญาณจำนวนมาก ขณะที่ความถี่ที่ต่ำแบบ 850 MHz นั้นกลับให้บริการพื้นที่ครอบคลุมและกว้างมากกว่า นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าผู้ให้บริการรายใหญ่ อย่างเช่น AT&T ในอเมริกา หรือ Telstra Mobile ของออสเตรเลียก็เลือกใช้คลื่น 850 MHz เช่นกัน
        จะเห็นว่า 3G ไม่ว่าจะอยู่บนความถี่ใดก็ตาม ก็ล้วนเป็น 3G ของจริงทั้งนั้น ไม่ได้ยึดติดว่าต้องเป็น 2100 MHz และที่น่าสนใจคือ 850 MHz กลับให้บริการในพื้นที่ ที่กว้างกว่า ครอบคลุมมากกว่านั่นเองครับ
        สุดท้ายแล้วสิ่งที่น่าสนใจกว่าคลื่นความถี่คือความเร็ว ที่แต่ละค่ายสามารถให้บริการกับผู้บริโภคอย่างพวกเราได้นั่นเอง ค่ายไหนเร็ว ค่ายไหนเสถียร คือค่ายที่เหมาะกับเราที่สุด

3G my By CAT
        สำหรับโครงข่าย my รองรับความเร็วในการใช้งานสูงสุดที่ 42 Mbps โดยปัจจุบันเปิดให้บริการที่ DL Speed 21 Mbps. / UL Speed 5.76 Mbps. (ซึ่งความเร็วขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ ,สภาพภูมิอากาศ ,สภาพภูมิประเทศ ,ปริมาณการใช้งานขณะนั้นและความแรงของสัญญาณในพื้นที่ให้บริการ)

พื้นที่ให้บริการ  my
        โดย my มีพื้นที่ให้บริการ ณ ปัจจุบัน ครอบคลุม 77 จังหวัด 928 อำเภอ 7,029 ตำบล และ 65,691 หมู่บ้าน

TruemoveH และ my by CAT เกี่ยวข้องและแตกต่างกันอย่างไร
        กสท เป็นเจ้าของโครงข่าย 3G HSPA  850 MHz โดยในปัจจุบันมี Reseller ที่ให้บริการ 2 ราย ได้แก่ TruemoveH และ my นั้นหมายถึง กสท มี 2 สถานะ คือ เป็นเจ้าของโครงข่ายและ Reseller ภายใต้แบรนด์ my นั้นเอง พูดอีกนัยหนึ่งก็คือจุดที่  TruemoveH ใช้งานได้ my ก็สามารถใช้ได้เหมือนกัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันระหว่าง TruemoveH และ my ก็คือโปรโมชั่นที่นำเสนอลูกค้านั้นเอง

มาดูข้อมูล 3G my เพิ่มเติมกันดีกว่า

CR : http://www.macthai.com/2013/05/05/3g-850-mhz-vs-2100-mh/

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Google Docs ใช้ทำอะไรได้บ้าง

excel           present             word            img             form

           ความสามารถของ Google Docs มีอย่างล้นเหลือ เรียกได้ว่าตอบสนองคนที่ต้องการใช้งานเอกสารได้อย่างสมบูรณ์แบบ และมัน OK สำหรับคนที่ไม่มี Server หรือระบบสำหรับงานเฉพาะอย่างที่คนอื่นมีใช้กันแต่ต้องการ share file ให้คนอื่นเข้ามาดูรายละเอียดหรือแม้แต่แก้ไขงานได้ด้วย เพียงแต่เราต้องประยุกต์ใช้งานให้ถูกเท่านั้นเอง เราจะมาทำความรู้จักกันอย่างละเอียดก่อนว่า Google Docs ใช้ทำอะไรได้บ้าง
1. สร้างเอกสาร สเปรดชีต และงานนาเสนอแบบออนไลน์
 สร้างเอกสารพื้นฐานแบบเริ่มต้นจากศูนย์ สามารถทำงานพื้นฐานทุกประเภทได้อย่างง่ายดาย รวมถึงการทำรายการสัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย การเรียงลำดับตามคอลัมน์ การเพิ่มตาราง รูปภาพ ข้อคิดเห็น สูตร การเปลี่ยนแปลงแบบอักษร และอื่นๆ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
 อัพโหลดไฟล์ของคุณที่มีอยู่แล้ว รองรับรูปแบบไฟล์ที่นิยมใช้กันส่วนใหญ่ ได้แก่ DOC, XLS, ODT, ODS, RTF, CSV และ PPT เป็นต้น คุณจึงสามารถทำงานต่อไปพร้อมกับอัพโหลดไฟล์ของคุณที่มีอยู่ได้ด้วย
 ใช้งานบนแถบเครื่องมือได้อย่างคุ้นเคยทาให้การแก้ไขเป็นเรื่องง่ายๆ เลือกตัวหนาขีดเส้นใต้ เพิ่มสัญลักษณ์ในข้อย่อย เปลี่ยนแบบอักษร หรือรูปแบบตัวเลข เปลี่ยนสีพื้นหลังของเซลล์ และอื่นๆ เพียงคลิกปุ่มบนแถบเครื่องมือที่คุณคุ้นเคย
2. ใช้งานและทางานร่วมกันในแบบเรียลไทม์
 เลือกคนที่คุณต้องการให้เข้าถึงเอกสารของคุณได้ เพียงป้อนที่อยู่อีเมลของคนที่คุณต้องการให้ใช้งานเอกสารที่ระบุร่วมกัน แล้วส่งคำเชิญไปให้เขาเหล่านั้น ก็สามารถใช้งานเอกสารร่วมกันได้
 ใช้งานร่วมกันได้ทันที ทุกคนที่คุณเชิญให้เข้ามาแก้ไขหรือดูเอกสาร สเปรดชีต หรือ งานนำเสนอของคุณ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทันทีที่เข้าสู่ระบบ
 แก้ไขและนาเสนอร่วมกับบุคคลอื่นในแบบเรียลไทม์ สามารถดูและแก้ไขร่วมกันได้หลายคนในเวลาเดียวกัน มีหน้าต่างสนทนาบนหน้าจอสำหรับการแก้ไขเอกสารและสเปรดชีต เพื่อแสดงให้คุณเห็นว่าใครแก้ไขอะไรและเมื่อใด และแล้วการดูงานนำเสนอพร้อมกันไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เนื่องจากใครก็ตามที่เข้ามาร่วมในงานนำเสนอ ต่างก็สามารถติดตามงานนำเสนอนั้นได้โดยอัตโนมัติ
3. จัดเก็บและจัดระเบียบงานอย่างปลอดภัย
 แก้ไขและเข้าถึงจากที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องดาวน์โหลดสิ่งใด คุณสามารถเข้าถึงเอกสารสเปรดชีต และงานนำเสนอของคุณได้จากคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และมีบราวเซอร์มาตรฐานโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
 จัดเก็บงานของคุณได้อย่างปลอดภัย อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบออนไลน์ และการบันทึกอัตโนมัติ ช่วยให้คุณไม่ต้องกังวลเรื่องฮาร์ดไดร์ฟเสียหรือไฟดับเพราะข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ของ Google
 บันทึกและส่งออกสาเนาได้อย่างง่ายดาย สามารถบันทึกเอกสาร และสเปรดชีตของคุณไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณในรูปแบบ DOC, XLS, CSV, ODS, ODT, PDF, RTF และ HTML ได้
 การจัดระเบียบเอกสารของคุณ ค้นหาเอกสารของคุณได้อย่างง่ายดายด้วยการจัดระเบียบเอกสารในโฟลเดอร์ต่างๆ และสามารถลากและวางเอกสารต่างๆ ของคุณลงในหลายโฟลเดอร์ได้ตามที่คุณต้องการ
4. ควบคุมว่าใครสามารถดูเอกสารของคุณได้
 เผยแพร่งานของคุณเป็นหน้าเว็บ คุณสามารถเผยแพร่เอกสารของคุณแบบออนไลน์ได้โดยการคลิกเพียงครั้งเดียว ก็สามารถเผยแพร่ผลงานชิ้นสำคัญของคุณให้เป็นหน้าเว็บได้อย่างง่าย

ครั้งต่อไปเรามาดูวิธีใช้งานกันบ้างดีกว่าคับ เพราะจากที่ผมได้ลองใช้งาน excel และ share file ให้กับคนในทีมให้สามารถแก้ไข/Update file ได้เวลาที่งานมีความเคลื่อนไหวเพราะผมไม่มีระบบงานที่เก็บข้อมูลโดยตรง แถมยังไม่มี Server ของตัวเองด้วย 555 มันค่อนข้างมีประโยชน์ทีเดียวคับ

CR : เอกสารประกอบการอบรมปฏิบัติการโปรแกรมจัดการเอกสารออนไลน์ด้วย Google Docs ศูนย์คอมพิวเตอร์ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Google Documents คืออะไร ?


Google Documents หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า Google Docs เป็นบริการออนไลน์ที่ให้คุณสามารถจัดการเอกสารได้แบบไม่ต้องเสียเงิน เพียงแค่คุณมีอีเมลของ Gmail และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพราะ Google Docs เตรียมมาให้คุณหมดแล้วไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์รายงานแบบที่คุ้นเคย การทำสไลด์เพื่อนำเสนองานสำคัญ หรือจะจัดการเอกสารแบบ Spreadsheets ได้เหมือน Excel ก็สามารถทำได้
Google Docs ทำงานเหมือน Microsoft Office แต่ทุกอย่างจะทำงานอยู่บนเว็บ สามารถทำงานได้ทันทีที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งโปรแกรมลงในเครื่อง หรือเสียเงินค่าลิขสิทธิ์ก่อนใช้งานแต่อย่างใด เพียงแค่เข้าไปยัง Google Docs เราก็สามารถสร้าง แก้ไข หรือเปิดอ่านเอกสารได้เลย โดยตัวเอกสารนั้นจะถูกเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ของ Google และที่สำคัญเราสามารถแชร์เอกสารให้กับเพื่อนเพื่อแก้ไขข้อมูลไปพร้อมๆ กัน โดยจะเห็นว่าอีกฝ่ายกำลังพิมพ์อะไรอยู่
สำหรับจุดเริ่มต้นของ Google Docs กำเนิดมาจากโปรแกรม Google Spreadsheets ที่สามารถทำงานเหมือนกับตาราง Excel ได้เพียงอย่างเดียว แต่ในขณะนั้นก็มีโปรแกรมสำหรับแก้ไขเอกสารออนไลน์ที่มีชื่อว่า Writely ซึ่งเป็นที่นิยมพอสมควรของ Upstartle จนต้นปี พ.ศ.2549 Google ได้เข้ามาซื้อกิจการของ Upstartle ทำให้ Google ได้สิทธิ์ครอบครอง Writely ได้ด้วยปัจุบัน Writely ถูกพัฒนามาเป็น Google Docs ซึ่งสามารถทำงานเข้าชุดกันกับ Google Spreadsheets ได้เป็นอย่างดี

โปรแกรมจัดการเอกสารออนไลน์ด้วย Google Docs ประกอบด้วย

ต้องเตรียมอะไรบ้าง
ก่อนที่จะเริ่มต้นใช้งาน Google Docs เรามาเตรียมความพร้อมของเครื่องคอมพิวเตอร์เสียก่อน ซึ่งไม่ยุ่งยากแต่อย่างใด คุณสมบัติของเครื่องที่มีอยู่ตอนนี้อาจจะสามารถใช้งาน Google Docs ได้เลยก็ได้ โดยสิ่งที่จำเป็นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะต้องมีเพื่อรองรับการใช้งาน Google Docs ก็มีดังนี้
1. ระบบปฏิบัติการ (Operation System - OS) สามารถใช้งานบนระบบปฏิบัติการแทบจะทุกชนิด Windows ,Mac OS X, GNU/Linux ฯลฯ
2. โปรแกรมเปิดเว็บไซต์ (Web Browser) สามารถใช้งานร่วมกับทุก Web Browser เช่น Internet Explores (IE), Mozilla Firefox, Google Chrome, Safari หรือ Opera
3. อินเทอร์เน็ต (Internet) ติดตั้งอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมต่อการใช้งานผ่านระบบออนไลน์ เพื่อช่วยให้การเชื่อมต่อไม่สะดุดและล่าช้าจนเกินไป ซึ่งความเร็วอินเทอร์เน็ตควรอยู่ที่ระดับ 1 Mbps ขึ้นไป

ลองมาดูกันว่ามันทำอะไรได้บ้าง Google Docs ใช้ทำอะไรได้บ้าง

CR : เอกสารประกอบการอบรมปฏิบัติการโปรแกรมจัดการเอกสารออนไลน์ด้วย Google Docs ศูนย์คอมพิวเตอร์ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ขั้นตอนการทำ SEO (Search Engine Optimization)

ขั้นตอนการทำ SEO (Search Engine Optimization)

1. วิเคราะห์การแข่งขัน โดยดูจาก การค้นหา คีย์เวิร์ดของเราเทียบกะคู่แข่ง
2. เลือกคีย์เวิร์ดที่เหมาะสม
3. ปรับแต่งเนื้อหาภายในเว็บ
4. เขียนเนื้อหาให้ตรงกับ อัลกอริทึ่ม ของแต่ละ search engine
5. การออกแบบเว็บให้ search engine เข้าถึงได้สะดวก
6. การลงทะเบียนกับ search engine ต่างๆ
7. การสร้างลิงค์ให้กับเว็บไซต์ ในเว็บเรา และเว็บอื่นๆ
8. ติดตามประมวลผล การเลื่อนลำดับ เวลาค้นจาก Search Engine แต่ละที่ 

How to makes traffic for your site

1. Submit to the directories and receive quality incoming links
2. Link exchanges (PR4 up, เนื้อหาใกล้เคียงของเรา)
3. Keep adding quality content (เนื้อหามีคุณภาพ, no broken link, insert keyword all pages)
4. High demand, low supply keywords (เช็คคีย์เวิร์ดที่นิยม, หาคำที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเว็บเรา http://www.th-store.com/modules/seo-tools/Keyword-Playground.php)
5. Help and be helped with forum chat
6. Spending a little more money on PPC advertising
7. Article submission , News Group
8. Build relationships with newsletters

เครื่องมือที่นัก SEO และ SEM เขามีไว้ทำการปรับปรุง พัฒนาเว็บกันครับ

1. http://www.marketleap.com/publinkpop

(เป็นเว็บที่ใช้ในการตรวจสอบ ปริมาณลิงค์จากเว็บอื่นๆ ว่าเป็นอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือต่างกัน เช็คดูค่า Link Populariry ของคู่แข่งด้วย ลองใช้ดูครับ)

2. โปรแกรมแนะนำคีย์เวิร์ด (แนะนำที่ใช้ฟรีละกัน)

3. เพิ่มลิงค์ในหน้า Search Engine ต่างๆ

4. เว็บไซต์ที่รับแลกลิงค์แบนเนอร์

5. เว็บบริการจัดอันดับ Top 100

เว็บไซต์ช่วยในการทำ SEO

1. http://www.marketleap.com/publinkpop
2. http://www.google.com/webhp?complete=1&hl=en
3. http://adwords.google.com/select/Keyword
4. http://www.wordtracker.com/
5. http://www.keyworddiscovery.com/
6. http://truehits.net/index_keyword.php
7. http://www.checkyourlinkpopularity.com/

เว็บไซต์ช่วยเช็คอันดับของคีย์เวิร์ด

1. http://www.webposition.com/
2. http://www.webceo.com/
3. http://www.axandra.com/
4. http://www.google.com/apis
5. http://www.digitalpoint.com/tools/keywords
6. http://www.yahoosearchtracking.com/
7. http://www.prsearch.net/msnmass.php
8. http://www.seo-guy.com/seo-tools/se-pos.php

เว็บไซต์รายงานการแสปม

1. http://www.google.com/contact/spamreport.html
2. http://add.yahoo.com/fast/help/us/ysearch/cgi_reportsearchspam
3. http://feedback.searc.msn.com/eform.aspx?productkey=searchweb&page=search_feedback_form

คำแนะนำสำหรับเว็บมาสเตอร์

1. http://www.google.com/webmasters/guidelines.html
2. http://www.google.com/webmasters/seo.html
3. http://help.yahoo.com/help/us/ysearch/basics/basics-18.html
4. http://searchenginewatch.com/
5. http://www.seobook.com/
6. http://www.searchenginelowdown.com/
7. http://www.seroundtable.com/
8. http://www.webmasterworld.com/
9. http://forums.seochat.com/
10.http://livepr.raketforskning.com/
11.http://www.marketleap.com/siteindex/default.htm
12.http://www.prsearch.net/index.php
13.http://123promotion.co.uk/tools/robotstxtgenerator.php
14.http://www.sxw.org.uk/computing/robots/check.html
15.http://www.copyscape.com/ (ดูว่าเว็บไหนลอกเนื้อหาเว็บเรา)
16.http://www.searchwho.com/sw5-spider.html


CR : http://help.tht.in/seo.html