วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 MHz ของ TRUE และ DPC

         สัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยที่เกิดขึ้นพร้อมกับอุตสาหกรรมมือถือในบ้านเรา กำลังจะสิ้นสุดลงชุดแรกในวันที่ 15 กันยายน 2556 นี้ (เจ้าของสัมปทานคือ CAT Telecom ส่วนผู้รับสัมปทานคือ True Move และ DPC/GSM1800)
         การที่มันเป็นสัญญาสัมปทานชุดแรกที่จะสิ้นอายุ บวกกับการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยจากระบบสัมปทาน (รัฐวิสาหกิจ-เอกชน) มาเป็นระบบใบอนุญาต (กสทช-เอกชน) ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากมายเต็มไปหมด ซึ่งผู้อ่านน่าจะพอทราบกันมาบ้างจากสื่อต่างๆ
         ปัญหาเรื่องคลื่น 1800 MHz มีความซับซ้อนสูงมาก (โดยเฉพาะประเด็นเรื่องกฎหมาย) บทความนี้จะอธิบายที่มาที่ไปของปัญหานี้ ก่อนจะเข้าสู่รายละเอียดให้มากขึ้นในบทความต่อๆ ไปครับ

Disclaimer : ผมถือว่ามีส่วนได้เสียกับปัญหาเรื่องคลื่น 1800 MHz เพราะดำรงตำแหน่ง "อนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่วิทยุโทรคมนาคมระบบเซลลูล่า Digital PCN 1800" หรือเรียกง่ายๆ ว่า "อนุฯ 1800 ชุดแรก" ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ทำงาน และทาง กสทช. ได้ตั้ง "อนุฯ 1800 ชุดที่สอง" มาทำงานแทนแล้ว

สัญญาสัมปทานกับความถี่ย่าน 1800MHz

คลื่นความถี่ย่าน 1800MHz เดิมทีอยู่ภายใต้การดูแลของ กสท โทรคมนาคม ซึ่งในสมัยนั้นยังเป็นรัฐวิสาหกิจเต็มรูปแบบ (ก่อนจะแปรรูปในภายหลัง ต่อไปจะขอเรียกว่า CAT เพื่อความสั้นกระชับ)
CAT "ให้สัมปทาน" ความถี่ย่านนี้กับบริษัทเอกชนเพื่อนำไปให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยเอกชนที่ได้คลื่นจาก CAT มีทั้งหมด 3 บริษัทคือ True Move (ไม่มี H หรือ TA Orange เดิม), DPC (รู้จักกันในชื่อการค้าว่า GSM1800 ซึ่งถือเป็นบริษัทในเครือ AIS) และ dtac
สัญญาสัมปทานกับทั้ง 3 บริษัทนั้นแยกสัญญากันเป็น 3 ฉบับชัดเจน โดยมีช่วงคลื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง 4 ช่วงตามภาพ
หมายเหตุ:
  • เครดิตภาพจาก Jows' Telecom Review โดยตัดมาเฉพาะส่วนสำคัญ
  • ความถี่ในภาพแสดงทั้งขาส่งและขารับ ซึ่งปกติจะมาคู่กันอยู่แล้ว ในบทความนี้จะถือว่าขาส่งและขารับเป็นก้อนเดียวกันนะครับ
 

  • สัญญาสัมปทานกับ True Move (สีส้ม) ความกว้าง 12.7MHz เซ็นปี 2544 หมดสัญญาสัมปทาน 15 ก.ย. 56
  • สัญญาสัมปทานกับ DPC (สีแดง) ความกว้าง 12.7MHz เซ็นปี 2544 หมดสัญญาสัมปทาน 15 ก.ย. 56
  • สัญญาสัมปทานกับ dtac (สีฟ้า) เซ็นปี 2534 หมดสัญญาสัมปทานเดือนกันยายน 2561 โดยแบ่งคลื่นเป็น 2 ช่วงคือ
    • ช่วงต้น (1722.7-1747.9) เป็นช่วงที่ dtac ใช้งานจริงในปัจจุบัน
    • ช่วงท้าย (1760.5-1785) เป็นคลื่นสำรองที่ dtac จะใช้งานได้ก็ต่อเมื่อคลื่นช่วงต้นไม่พอใช้ และต้องได้รับความยินยอมจาก CAT ก่อน ปัจจุบันคลื่นนี้ก็ทิ้งไว้เฉยๆ ไม่ได้ใช้ทำอะไร
  • สัญญาที่กำลังจะหมดลงและเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้คือส่วนของ True Move และ DPC ซึ่งมีช่วงกว้างคลื่นเท่ากัน และหมดสัญญาพร้อมกัน (แต่ถือเป็นคนละสัญญากัน คนละบริษัทกัน)

    แยกส่วนสัญญาสัมปทาน

    สัญญาสัมปทานที่ CAT เซ็นไว้กับ True Move และ DPC นั้นเก่ามาก เกิดก่อนยุคของ กสทช. นานหลายปี ตอนนั้นแนวคิดของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย ยังมองวิธีการจัดสรรคลื่นในรูปแบบของ "สัมปทาน" (concession) แบบเดียวกับสัมปทานทางด่วน นั่นคือรัฐเป็นเจ้าของทรัพยากร แต่ไม่มีเงินลงทุนเอง จึงให้เอกชนมาลงทุนและหาผลประโยชน์เป็นระยะเวลาหนึ่ง เมื่อสิ้นสุดช่วงเวลานั้นแล้ว รัฐจะได้เป็นเจ้าของ "สิ่งปลูกสร้าง" ที่เอกชนลงทุนและเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ไปบ้างแล้ว
    รูปแบบของสัญญาสัมปทานแบ่งได้ใหญ่ๆ 2 แบบคือ
    • BOT (Build-Operate-Transfer) สร้างก่อน ให้เอกชนดำเนินการ หมดสัญญาค่อยโอนความเป็นเจ้าของให้รัฐ
    • BTO (Build-Transfer-Operate) สร้างก่อน โอนความเป็นเจ้าของให้รัฐก่อน แล้วเอกชนดำเนินการจนสิ้นสุดสัญญา
    สำหรับสัญญาสัมปทานของ CAT เป็นรูปแบบหลังคือ BTO นั่นคือเอกชนลงทุนสร้างโครงข่าย โอนความเป็นเจ้าของโครงข่ายให้ CAT แล้วเอกชนนำมาใช้ประโยชน์ในการให้บริการโทรศัพท์มือถือจนสิ้นสุดสัญญาปี 56
    ดังนั้นในเนื้อหาของสัญญาสัมปทานจริงๆ จะเรียบง่ายมาก นั่นคือ
    • CAT กำหนดให้เอกชนใช้คลื่นตามช่วงเวลาที่กำหนด
    • เอกชนลงทุนโครงข่าย โอนให้ CAT เป็นเจ้าของแต่ให้เอกชนดำเนินการและดูแลรักษา โดยต้องจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ CAT คิดตามสัดส่วนของรายได้ที่เอกชนได้รับ
    เมื่อสิ้นสุดสัญญาแล้ว คลื่นความถี่ โครงข่าย ลูกค้าของเอกชนจะถูกส่งมอบให้ CAT ทั้งหมด (แถวที่หนึ่งและสองในตาราง) โดยเอกชนต้องเตรียมความพร้อมให้คนของ CAT สามารถให้บริการโทรศัพท์มือถือต่อไปได้ด้วย

    กสทช. กับหน้าที่ในการบริหารจัดการคลื่นความถี่

    ปัญหาเกิดขึ้นเมื่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยปรับตัวเข้าสู่ระบบใบอนุญาต เกิดหน่วยงานกลาง (เป็นหน่วยงานอิสระของรัฐ ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของรัฐบาล กระทรวง กรม) ที่ทำหน้าที่ "กำกับดูแล" อย่าง กสทช. ขึ้นมาดูแลคลื่นความถี่ทั้งหมดในประเทศไทย กสทช.ใช้ระบบการจัดการที่เรียกว่า "ใบอนุญาต" (license) แทนระบบสัญญาสัมปทานแบบเดิม
    กสทช. เกิดขึ้นในช่วงที่สัญญาสัมปทานเดิมยังไม่หมดอายุ
    พ.ร.บ. กสทช. (หรือชื่อจริงๆ คือ "พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553") ซึ่งถือเป็นกฎหมายจัดตั้งและกำหนดแนวทางของ กสทช. เขียนเรื่องสัมปทานเดิมเอาไว้ว่า
    • หลังกฎหมายใช้บังคับในปี 2553 แล้ว ห้ามรัฐวิสาหกิจไปทำสัญญาสัมปทานอีก เพราะหน้าที่การดูแลคลื่นเปลี่ยนมือเป็นของ กสทช. แล้ว
    • สัมปทานเดิมที่รัฐวิสาหกิจทำกับเอกชนไปแล้ว ให้มีผลต่อไปจนหมดอายุ
    • เมื่อหมดอายุสัมปทานแล้ว กสทช. จะเรียกคลื่นคืนเมื่อไร ให้ กสทช. ไปเขียนไว้ใน "แผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่"
     
     
    อ้างอิง: พ.ร.บ. กสทช. บทเฉพาะกาล มาตรา 84 (PDF บนเว็บไซต์ กสทช.)

             เมื่อได้ กสทช. ครบคณะและเริ่มทำงานอย่างเป็นทางการ กสทช. ไปกำหนดเรื่องการคืนคลื่นในแผนแม่บทฯ เอาไว้ว่า "จะเรียกคืนคลื่นทันทีเมื่อสัมปทานหมดอายุ" (ในทางทฤษฎี กสทช. อาจกำหนดว่าจะเรียกคืนคลื่นเมื่อหมดสัญญาสัมปทานไปแล้ว 1 เดือน 1 ปี 3 ปี ก็ได้ทั้งนั้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ กสทช. กำหนดไว้ว่า "ทันที")


    อ้างอิง: แผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ พ.ศ. 2555 (PDF บนเว็บไซต์ กสทช.)

             นั่นแปลว่าภายใต้ระบบใหม่ของ กสทช. แผนการเดิมของ CAT จะต้องเปลี่ยนไปจากเดิม นั่นคือ "คลื่นความถี่" จะกลับไปยัง กสทช. ไม่ใช่กลับไปที่ CAT อย่างที่วางแผนไว้ตั้งแต่ตอนเซ็นสัญญา (เพราะตอนนั้นไม่มีใครรู้ว่าจะเกิด กสทช.)
    CAT จะยังได้รับมอบลูกค้าและโครงข่ายของเอกชนไปเหมือนเดิม แต่ไม่ได้คลื่น 1800MHz ชุดนี้ (ในที่นี้คือคลื่นก้อนสีส้มและแดง) กลับไปด้วย ซึ่งในทางทฤษฎีแล้ว CAT ยังสามารถให้บริการลูกค้า True Move และ GSM1800 ต่อได้
    • โครงข่าย ใช้ของเดิมและเอาท์ซอร์สให้ True/DPC บริหารจัดการ
    • คลื่น เปลี่ยนไปใช้คลื่นช่วงอื่นที่ CAT ครอบครองอยู่ เช่น คลื่น 850MHz (My ซึ่งอาจมีปัญหาว่าเครื่องของลูกค้าเดิมใช้กับคลื่นช่วงนี้ไม่ได้) หรือคลื่น 1800MHz ก้อนสำรองในสัญญาสัมปทานกับ dtac
    ส่วนตัวคลื่น 1800MHz ก้อนของ True/DPC จะถูกโอนกลับไปที่ กสทช. เพื่อนำไป "จัดสรรใหม่หรือปรับปรุงการใช้" (บรรทัดสุดท้ายของมาตรา 84) ซึ่งกฎหมายฉบับเดียวกัน มาตรา 45 กำหนดว่า ถ้าเป็นคลื่นโทรคมนาคมจะต้องจัดสรรด้วยวิธี "ประมูล" เท่านั้น

    ทางออกที่ควรจะเป็น (แต่ไม่เกิดขึ้น)

             ในโลกอุดมคติ กสทช. (และประเทศไทย) รู้มาตั้งแต่ปี 2544 แล้วว่าสัญญาสัมปทานชุดแรกจะหมดลงในปี 2556 และเมื่อหมดอายุสัญญาสัมปทาน คลื่นจะกลับมาที่ กสทช. เพื่อจัดสรรใหม่
    ก่อนหมดสัญญาสัมปทานสักประมาณ 2-3 ปี กสทช. จัดประมูลคลื่นความถี่ช่วง 1800MHz เสียใหม่
    ความเป็นไปได้แบบที่หนึ่ง
             True และ DPC ชนะการประมูลคลื่นเดิมของตัวเอง สองบริษัทนี้ถือสิทธิการใช้งานคลื่นต่อไปอีก (สมมติว่า 15 ปีเท่ากับคลื่น 2100MHz) แต่ไม่มีโครงข่ายแล้ว สองบริษัทนี้จึง "เช่าใช้" โครงข่ายของ CAT (ที่ตัวเองเป็นคนสร้างนั่นล่ะครับ) พร้อมรับโอนลูกค้าจากระบบสัมปทานเดิมมาให้บริการต่อ
    ความเป็นไปได้แบบที่สอง
             มีบริษัทหน้าใหม่ของวงการมือถือ สมมติชื่อบริษัท A และ B ชนะการประมูล สองบริษัทนี้ไม่มีโครงข่ายของตัวเองมาก่อน จึง "เช่าใช้" โครงข่ายของ CAT (ที่ TRUE/DPC เป็นคนสร้างไว้ในอดีต) แล้วให้บริการมือถือ (อาจจะเป็น LTE) โดยรับโอนลูกค้าเก่าของ True Move/GSM1800 มาหรือไม่ก็ได้ ขึ้นกับการตกลงกันทางธุรกิจแบบเอกชน-เอกชน
             ในโลกอุดมคติ CAT มีรายได้จากการให้เช่าใช้โครงข่ายที่เป็นทรัพย์สินของตัวเอง ผู้ใช้ True Move/GSM1800 เดิมที่ไม่อยากย้ายค่ายแม้จะหมดสัญญาแล้ว ก็จะใช้บริการได้ต่อไปเพราะมีคนรับช่วงต่อ ส่วนเอกชนรายใดจะได้สิทธิการถือครองคลื่นไป ก็วัดกันที่การประมูลซึ่งเป็นวิธีที่โปร่งใสที่สุดในเชิงหลักการ เรื่องราวก็ควรจะ happy ending แต่ในความเป็นจริง เราเหลือเวลาอีกไม่ถึง 2 เดือนเต็มก่อนสัญญาสัมปทานหมดอายุ ไม่มีการประมูลคลื่น และยังไม่มีความชัดเจนใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้นจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป เอาไว้ต่อกันในตอนหน้าครับ

    CR : http://www.blognone.com/node/46559

    วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

    บริการ my VPN (Fix Public IP)

              ก่อนหน้านี้ที่พูดถึงบริการ my VPN "บริการ my VPN ( my Virtual Private Network)" หลายคนคงเข้าใจมากขึ้นแล้วนะคับ ที่นี้เรามาดูบริการ my VAP ที่เป็นการ Fix Public IP กับบ้าง

              บริการ my VPN (Fix Public IP) เป็นบริการ Fix Public IP ให้กับ SIM my ที่คุณใช้งานอยู่โดยการกำหนดค่า APN ของ SIM ใหม่ เพื่อให้ผู้ให้บริการ (my) จ่าย IP ให้ตรงกับที่คุณต้องการ เนื่องจากการใช้งาน Internet ผ่านเครือข่าย 3G นั้นมีข้อแตกต่างกับ ADSL "ข้อแตกต่างการทำ Free DynamicDNS ระหว่าง 3G กับ ADSL" คือ IP ที่ได้รับมานั้นไม่ใช่ IP จริง ทำให้ไม่สามารถใช้งานนำมาใช้งานได้กับงานบางชนิดที่ต้องการ เช่น กล้อง CCTV หรืออุปกรณ์ Network Controller ต่างๆ

              APN คืออะไร APN ย่อมาจาก Access Point Name เป็นชุดของข้อมูลระบบที่จะทำให้คุณใช้ Mobile internet ผ่านเครื่อข่ายของผู้ให้บริการของคุณได้นั้นเอง เวลาที่เราต้องการจะใช้งาน Mobile Internet เราจะต้องทำการเชื่อมต่อสัญญาณไปยังเครือข่ายที่เราใช้งานอยู่เสมอ โดยปกติแล้ว อุปกรณ์ที่เราใช้งานกันส่วนใหญ่จะมีค่า Default ของ APN = internet มาให้อยู่แล้ว เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้เราโดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเข้าไปตั้งค่าเองให้เสียเวลา

    ตัวอย่างค่า APN ของเครื่อข่ายที่ให้บริการในประเทศไทย

    AIS
    Name : AIS Internet
    APN : Internet
    APN Type : default

    DTAC
    Name : DTAC Internet
    APN : www.dtac.co.th
    APN Type : default

    TRUE
    Name : TRUE Internet
    APN : intenet
    Username : true
    Password : true
    APN Type : default

    TOT
    Name : TOTInternet
    APN : intenet
    Username :
    Password :
    APN Type : default

    my
    Name : myInternet
    APN : intenet
    Username :
    Password :
    APN Type : default

    และเมื่อ APN ถูกต้อง เราก็สามารถใช้งาน Internet ได้ตามปกติ โดยผู้ให้บริการแต่ละรายจะจ่าย IP Private ของตนมาให้ผู้ใช้บริการได้ใช้งาน


                  my ได้นำรูปแบบการกำหนด APN มาให้บริการ Fix Public IP ให้กับผู้ใช้บริการที่มีความต้องการใช้งาน Public IP กับงานต่างๆ เช่น กล้อง CCTV หรือ IP Cam ,การใช้งานกับอุปกรณ์ Network Controller ต่างๆ เหมือนที่อธิบายไว้ในบทความเรื่อง "บริการ CCTV ผ่านระบบ 3G my by CAT "

                  ส่วนค่าบริการแบบ Fix IP ของ my (VPN) ก็ตกอยู่ราวๆ 1,549 บาท/เดือน ใช้ Data 6G Unlimit (6G Unlimit  ก็คือ ใช้งาน 3G 6G แรกและหลังจากนั้น 6G ปรับเป็น 356K Unlimit) ซึ่งการใช้บริการสามารถติดต่อกับ สค. หรือสำนักงานบริการลูกค้าของ CAT ได้เองเลยหรือสอบถามข้อมูลได้ที่ 02-104-3318 (เบอร์ส่วนงานที่ดูแลเรื่องการขอใช้งานบริการ my)


    CR : iF2u, my



    วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

    บริการ my VPN ( my Virtual Private Network)



              ก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงบริการ my VPN กันมาบ้างแล้วในหัวข้อ "บริการระบบ Link Backup my By CAT" ซึ่งผมคิดว่าหลายคนอาจจะยังงงๆอยู่ใช่มั้ยละคับ เพราะวันก่อนผมคุยกับลูกค้าท่านหนึ่ง ถึงบริการ my VPN ซึ่งคุยกันอยู่พักใหญ่ๆเลยที่เดียวกว่าจะเข้าใจว่าการทำ my VPN นั้นคืออะไร

              ผมเลยอยากจะพูดถึงการทำ VPN ให้เข้าใจกันก่อน ว่าคืออะไร และมีแบบไหนบ้าง ส่วนของบริการ my VPN คืออะไร

              VPN ย่อมาจาก Virtual Private Network เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อเครือข่ายนอกอาคาร (WAN - Wide Area Network) เป็นระบบเครือข่ายภายในองค์กร ซึ่งเชื่อมเครือข่ายในแต่ละสาขาเข้าด้วยกัน โดยอาศัย Internet เป็นตัวกลาง มีการทำ Tunneling หรือการสร้างอุโมงค์เสมือนไว้รับส่งข้อมูล มีระบบเข้ารหัสป้องกันการลักลอบใช้ข้อมูล เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งต้องการความคล่องตัวในการติดต่อรับส่งข้อมูลระหว่างสาขา มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับ Private Network
              นอกจากนี้ ยังสามารถกำหนดหมายเลข IP เป็นเครือข่ายเดียวกัน และเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัตินอกบริษัทฯ ยังสามารถ login เข้ามาใช้เครือข่ายภายในองค์กรได้
    VPN แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ตามลักษณะการใช้งาน คือ

     1. Remote Access VPN

              การเชื่อมต่อ VPN จากเครื่องคอมพิวเตอร์เดี่ยวๆที่อยู่ภายนอกหรืออินเทอร์เน็ตเข้ากับระบบ LAN ภายใน ( Client - to - LAN)

     2. Site - to - Site VPN

     การเชื่อมต่อ VPN ระหว่างระบบ LAN 2 ระบบเข้าด้วยกัน ( LAN - to – LAN )

              VPN ทำงานอย่างไร การที่เราใช้งานเครือข่าย Private network นั้นทำให้มีความปลอดภัยเนื่องจากโอกาสที่ข้อมูลจะตก อยู่ในมือผู้ไม่พึงประสงค์นั้นมีน้อย รวมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อยังมีความสามารถในการเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูล ในขณะที่การใช้งานอินเตอร์เนตนั้นปกติจะไม่มีการเข้ารหัส ข้อมูลที่ส่งกันก็ไม่ได้ส่งตรงไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทาง แต่ต้องผ่านเราเตอร์และเกตเวย์ต่าง ๆ ตั้งมากมายกว่าที่ข้อมูลจะถูกส่งไปปลายทาง ซึ่งถ้าเราจะใช้อินเตอร์เนตในการ ส่งข้อมูลทางธุรกิจภายในบริาทจะเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงจึงได้มีการพัฒนาเทคนิคขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเรื่องความปลอดภัย ดังกล่าว เรียก Tunnel

              Tunnel คือ การที่ VPN client จะติดต่อกับ VPN Server โดยพยายามใช้เส้นทางประจำ (ปกติแล้ว ตามหลักการ การเชื่อมของ Internet นั้นจะไม่มีการกำหนดเส้นทางการเชื่อมต่อ เส้นทางการเชื่อมต่อจะเปลี่ยนไปตามสภาพการจราจร โดยเราเตอร์จะเลือกเส้นทางที่เหมาะสมในการส่งข้อมูล)

    รูปแบบของการทำ Tunnel มีอยู่ 2 แบบ คือ
    1. voluntary tunneling : เป็นการทำ tunnel โดย ผู้ใช้ทำการต่อเชื่อมกับ ISP หลังจากนั้น VPN Client โปรแกรมจะทำการเชื่อมกับเครือข่าย VPN
    2. compulsory tunneling : วิธีนี้จะจัดการโดย ISP โดยผู้ใช้เพียงแต่เชื่อมต่อเข้า ISP เท่านั้น หลังจากที่ กระบวนการตรวจสอบผู้ใช้เสร็จสิ้นระบบของ ISP จะทำการเชื่อมต่อเครื่องของผู้ใช้เข้ากับเครือข่าย VPN ของผู้ใช้ ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้ทาง ISP จะต้องติดตั้งอุปกรณ์เสริมที่เรียกว่า Front End Processor (FEP) หรือบางทีเรียกว่า POP Server (Point of Present Server)

    *** ซึ่งบริการ my VPN เป็นบริการ VPN แบบ Site to Site ที่มี Tunnel แบบ compulsory คือ ISP หรือ my เป็นผู้ทำการเชื่อมต่อกับเครื่อข่ายของผู้ใช้นั้นเอง

     
    แต่ในกรณีนี้ จะต้องมี Link เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งเส้น เพื่อที่จะเชื่อมโยงระบบ my กับ ระบบเครื่อข่ายของผู้ใช้งานให้เป็นระบบเดียวกัน
     
    Concept : 1. 3G Router เชื่อมต่อ my (PPP)
                     2. 3G Router เชื่อมต่อ VPN (PPTP)
                     3. Traffic ทั้งหมดฝั่ง Branch จะถูกส่งผ่าน Tunnel จาก 3G Router ไปยัง HQ โดยผ่านทาง VPN Server ซึ่งมี Dedicated Link เชื่อมตรงกับ HQ
     
    ข้อดี : - มีความปลอดภัยของข้อมูลเนื่องจาก Traffic ทั้งหมดถูกส่งผ่าน Tunnel และมี Dedicated Link เชื่อมโยงจาก Core Network my ไปยัง HQ และข้อมูลไม่วิ่งบน Internet ถ้ามองในแง่ของ Physical และ Logical
               - มีประสิทธิภาพของการสื่องสารข้อมูลเนื่องจากจำนวน Hop น้อยกว่าเมื่อเทียบกับทาง Internet
     
    ข้อเสีย : Cost เพิ่มในส่วนของ Dedicated Link

    ทำไมถึงต้องใช้ VPN
              เนื่อง จากปัจจุบันการติดต่อสื่อสารถือว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยถ้าเราต้องการการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยระหว่าง Network บริการที่ดีที่สุดคือ การเช่าสายสัญญาณ (leased line) ซึ่งจะทำการเชื่อมต่อระบบเน็ตเวิร์คของเราด้วยการใช้สายสัญญาณตรงสู่ปลายทาง ทำให้มีความปลอดภัยสูงเพราะไม่ต้องมีการใช้สื่อกลางร่วมกับผู้อื่น และมีความเร็วคงที่ แต่การเช่าสาสัญญาณนั้นใข้อเสียคือ ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการนั้นสูงมาก เมื่อเทียบกับความเร็วที่ได้รับ ซึ่งบริษัทขนาดเล็กนั้นคงไม่สามารถทำได้
              เทคโนโลยี VPN ได้เข้ามาเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เนื่องจากได้ใช้สื่อกลางคือ Internet ที่มีการติดตั้งอยู่อย่างแพร่หลายเข้ามาสร้างระบบเน็ตเวิร์คจำลอง โดยมีการสร้างอุโมงค์ข้อมูล (Tunnel) เชื่อมต่อกันระหว่างต้นทางกับปลายทาง ทำให้เสมือนว่าเป็นระบบเน็ตเวิร์คเดียวกัน สามารถส่งข้อมูลต่างๆที่ระบบเน็ตเวิร์คทำได้ โดยข้อมูลที่ส่งนั้นจะถูกส่งผ่านไปในอุโมงค์ข้อมูล ทำให้มีความปลอดภัยสูง ใกล้เคียงกับ leased line แต่ค่าใช้จ่าในการทำ VPN นั้นต่ำกว่าการเช่าสายสัญาณมาก

    ข้อดีของ VPN
              ลดค่าใช้จ่ายจากการศึกษาของ IDC พบว่า VPN สามารถลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อแบบ WAN ได้ราว 40 %
              ความยืดหยุ่นสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีการทำ Remote Access ให้ผู้ใช้ติดต่อเข้ามาใช้งานเครือข่าย จากนอกสถานที่
     
    ข้อเสียของ VPN
               VPN ทำงานอยู่บน Internet ซึ่งความเร็ว และการเข้าถึง และคุณภาพ (speed and access) เป็นเรื่องเหนือการควบคุมของผู้ดูแลเครือข่าย
               VPN technologies ต่างกันตามผู้ขายแต่ละรายยังไม่มีมาตรฐานที่ใช้ร่วมกันอย่างแพร่หลายมากนัก  ต้องมีการพัฒนาเพื่อรองรับโปรโตคอลอื่นนอกจากโปรโตคอลที่อยู่บนพื้นฐานของ IP

    CR : my , iF2u
    http://www.dld.go.th/ict/article/network/netw04.html
    http://www.com5dow.com

    วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

    ด่วน!! my แจ้งรายการส่งเสริมการขายอุปกรณ์ ราคาพิเศษ 99 บาท (ตั้งแต่วันนี้ – 31 ต.ค.56 หรือจนกว่าสินค้าจะหมด)

    my ขอแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์รายการส่งเสริมการขายอุปกรณ์ my ราคาพิเศษ ดังนี้


    - Sonore รุ่น Z 118  พิเศษเพียง 99 บาท จากราคาปกติ 990 บาท

    - USB 7.2 Mbps ZTE รุ่น MF 190  พิเศษเพียง 590 บาท จากราคาปกติ 990 บาท


    เงื่อนไขรายการส่งเสริมการขาย
    1. สำหรับผู้ใช้บริการใหม่, ผู้ใช้บริการ CAT CDMA ที่โอนย้ายมาบริการ my และผู้ใช้บริการจากผู้ให้บริการรายอื่นที่โอนย้ายมายังบริการ my (ย้ายค่ายเบอร์เดิม) เมื่อซื้ออุปกรณ์ในราคาข้างต้น โดยเปิดใช้บริการตามโปรโมชั่นที่สามารถสมัครได้ ณ ปัจจุบัน ไม่น้อยกว่า 3 รอบบิล
    2. จำกัดสิทธิ์การซื้อ 1 คนต่อ 1 เครื่อง
    3. ราคาอุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้นมีผลตั้งแต่วันนี้ – 31 ต.ค.56 หรือจนกว่าสินค้าจะหมด
    4. ราคาดังกล่าวข้างต้นรวม VAT 7%

    ***สิทธิพิเศษดังกล่าว สามารถใช้ได้เฉพาะผู้ใช้บริการใหม่, ผู้ใช้บริการ CAT CDMA ที่โอนย้ายมาบริการ my และผู้ใช้บริการจากผู้ให้บริการรายอื่นที่โอนย้ายมายังบริการ my (ย้ายค่ายเบอร์เดิม) แบบรายเดือน เท่านั้น


    จุดเด่นของเครื่อง Sonore รุ่น Z 118  คือมีขนาดเล็ก กะทัดรัด พกพาสะดวก ใช้งานได้ทั้งโทร และเล่นอินเทอร์เน็ต 3G  โดยเครื่องจะสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้แบบไม่ต้อง set เครื่อง

    *สำหรับลูกค้าที่ใช้โทรอย่างเดียว เพื่อป้องกันปัญหาเน็ตรั่ว แนะนำให้ปิดการใช้งานอินเทอร์เน็ตเลยจะดีกว่านะคะ โดยการพิมพ์ 0 แล้วส่ง SMS มาที่ 9999 (ไม่เสียค่าบริการคับ)...กันไว้ดีกว่าแก้ เมื่อบิลค่าใช้บริการมาถึงจะได้ไม่ต้องกังวล

    ** หากต้องการเปิดการใช้งานเน็ต พิมพ์ 1 แล้วส่ง SMS มาที่ 9999 ก็จะสามารถเล่นเน็ตได้แล้วค่ะ เป็นวิธีง่ายๆ ในการควบคุมการใช้งานเน็ตด้วยตนเองคับ

     
     
    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานบริการลูกค้า กสท และ CAT Shop ทั่วประเทศ หรือโทร 1322
     
     
    CR : if2u

    วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

    รีโมทโทรศัพท์ iPhone,Android และ iPad จากคอมพิวเตอร์ด้วย Teamviewer

                หลายคนคงรู้จักกับโปรแกรม Teamviewer กันมาบ้างแล้ว หลังจากเมื่อก่อน Teamviewer สามารถที่จะรีโมทจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปอีกเครื่องหนึ่ง และรีโมทจากมือถือ หรือ Tablet มายังคอมพิวเตอร์ได้นั้น แต่ไม่สามารถที่จะรีโมทจากคอมพิวเจอร์ไปยังมือถือได้ แต่จะมีตัว QS (v7/v8) ที่สามารถรีโมทจากคอมพิวเตอร์ไปยังตระกูล Samsung บางรุ่นได้ เช่น พวก Galaxy S ต่างๆ แต่วันนี้ทาง Teamviewer พร้อมให้การสนับสนุนด้านเทคนิคสำหรับอุปกรณ์มือถือของคุณจากระยะไกลผ่านคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Windows หรือเครื่อง Mac! ไม่ว่าจะเป็นแท็บเล็ตเพียงเครื่องเดียวหรือจะเป็นกองทัพสมาร์ทโฟน TeamViewer ก็พร้อมช่วยคุณให้การสนับสนุนอุปกรณ์มือถือดังกล่าวได้ โดยคุณสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Android และ iOS (iPad/iPhone/iPod Touch) ผ่านทางแอป TeamViewer QuickSupport ได้อย่างรวดเร็วทันใจ และการสนับสนุนอุปกรณ์มือถือจากระยะไกลยังสามารถดำเนินการผ่านเครื่องเวิร์กสเตชันของคุณได้อย่างสะดวกอีกด้วย

     
    เรามาดูคุณลักษณะใหม่ของตัวนี้กัน

    • แชท สามารถส่งข้อความจากคอมไปยังมือถือปลายทางได้
    • ดูข้อมูลอุปกรณ์ เช่น CPU ,RAM,Memory,Storage ของเครื่อง
    • การควบคุมระยะไกล
    • การถ่ายโอนไฟล์
    • รายการแอป (ถอนการติดตั้งแอป)
    • รายการกระบวนการ (หยุดการทำงานของกระบวนการ)
    • ดึงและป้อนข้อมูลการตั้งค่า Wi-Fi
    • ดูข้อมูลการวิเคราะห์ระบบ
    • ภาพหน้าจอเรียลไทม์ของอุปกรณ์
    • จัดเก็บข้อมูลลับลงในคลิปบอร์ดของอุปกรณ์
    • การเชื่อมต่อที่ปลอดภัยด้วยการเข้ารหัสลับเซสชัน AES แบบ 256 บิต

    ขั้นตอนการใช้ก็ไม่มีอะไรมากครับ
    1.ให้เพื่อนของเราดาวน์โหลดแอป TeamViewer QuickSupport แล้วติดตั้งมือถือให้เรียบร้อย  สามารถดาน์โหลด Teamviewer QuickSupport App ได้ที่
    2. ให้เพื่อนของเราเปิดแอปบนมือถือและบอก TeamViewer ID ซึ่งจะเป็นตัวเลข 9 ตัวของอุปกรณ์ดังกล่าวให้เราทราบเพื่อทำการรีโมทไปยังมือถือของเพื่อน 
     
    3. จากนั้นเราก็เอาไอดีที่เพื่อนเราให้มา ทำการรีโมทจากคอมพิวเตอร์ของเราได้ ซึ่งความสามารถจะทำอะไรกับเครื่องปลายทางได้นั้น ก็ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ( ซึ่ง Teamviewer บนคอมพิวเตอร์ของเราจะต้อง Update เป็น version ล่าสุดด้วยตอนเปิดโปรแกรมขึ้นมา มันจะแจ้งให้ update จึงจะสามารถรีโมทเข้ามือถือได้ เพราะมันเป็น อersion ใหม่กว่า แต่ถ้าบนคอมเราเป็น version ล่าสุดอยู่แล้วก็ไม่ต้องครับ)
     
     
    นับว่าเป็นโปรแกรมฟรีอีกโปปรแกรมที่ความสามารถมันสุดยอดมากครับ ยิ่งเพิ่ม version ใหม่ตัวนี้ไป คิดว่าจะสามารถใช้โปรแกรมตัวนี้ ช่วยเหลือไปยังมือถือเพื่อนๆเราได้ดียิ่งขึ้น
    สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  

    TeamViewer - โซลูชันอัจฉริยะที่พร้อมให้การสนับสนุนอุปกรณ์มือถือโดยเฉพาะ

     
     
     
    CR : http://www.teamviewer.com/th/products/mobile-device-support.aspx?pid=news.mds_all
     http://whoknown.blogspot.com/2013/07/teamviewer-ipad-iphone-android.html

    Android Device Manager ตามหาโทรศัพท์ Android เมื่อเครื่องหาย

                   ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี เมื่อ Google เปิดให้ใช้ Android Device Manager เป็นบริการสั่งค้นหา ส่งเสียงเรียก และลบข้อมูลในมือถือจากระยะไกล ( โดยมันจะอัพเดต Google Play Service ให้เองเพื่อให้สามารถใช้งานได้)  โดยจะสามารถใช้ใน Android เวอร์ชั่น 2.2 ขึ้นไป  โดยสามารถเข้าไปใช้งานได้ที่ https://www.google.com/android/devicemanager (ถ้า log in gmail อยู่ก็เข้าได้เลย ถ้ายังมันก็จะให้เราป้อน user และ password ของเราครับ)หรือจะเข้าผ่าน เมนูหน้าเว็บ Google Play  ก็ได้


    เมื่อเข้ามาก็จะเจอหน้าแผนที่และอุปกรณ์ที่เราใช้อีเมล์นี้ลงทะเบียนอุปกรณ์ไว้ โดยเราสามารถที่จะแก้ไขชื่อตัวอุปกรณ์นั้นๆ โดบเลือกที่รูปดินสอแล้วก็เปลี่ยนชื่อได้เลย

    โดยเราสามารถเลือกตัวเลือกต่อไปนี้ (แต่เครื่องเราต้องมีการเชื่อมอินเตอร์เนตไว้)

                 1.ทำให้ส่งเสียง ทำให้โทรศัพท์ของคุณส่งเสียงที่ระดับเสียงสูงสุดเป็นเวลา 5 นาที แม้จะถูกตั้งค่าเป็นโหมดเงียบหรือสั่นก็ตาม แต่ถ้าปิดเสียงไปเลย มันก็ไม่ดัง 555



                 2.ล้างข้อมูลอุปกรณ์ ดำเนินการรีเซ็ตเป็นค่าเริ่มต้นจากโรงงาน ซึ่งจะลบข้อมูลทั้งหมดของคุณอย่างถาวร  แต่เราต้องไปตั้งค่าเปิดการใช้งานก่อนนะครับ ที่  Setting >Security Device administrators >  Android Device Manager



     
                    จากการทดลองใช้ทั้งขณะเชื่อมต่อ Wi-Fi และเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายมือถือพบว่า ความแม่นยำในการค้นหาตำแหน่ง ยังไม่แม่นถึงขนาด 100% แต่ถือว่าตรงอยู่ 90 กว่า % แต่อย่างที่บอกก่อนหน้า กรณีอุปกรณ์ออฟไลน์หรือปิดอยู่ Android Device Manager เราไม่สามารถทำให้ส่งเสียงหรือลบอุปกรณ์จนกว่าจะเปิดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต   แต่ผู้ใช้สามารถกดปุ่ม Erase Device (ชื่อปุ่มภาษาไทยคือ ล้างข้อมูลอุปกรณ์) ล่วงหน้าได้ โดยข้อมูลในอุปกรณ์จะถูกลบเมื่อเครื่องกลับมาออนไลน์ นอกจากนั้นหากอุปกรณ์ปิดอยู่บริการนี้ก็จะไม่ทำงานเช่นกัน

    สามารถดูเพิ่มเติมได้จาก
    เว็บไซด์ของ google ที่นี่
    คงต้องรอการปรับปรุงเรื่อยๆจากทาง google ต่อไปครับ อาจจะมีฟังก์ชั่นใช้งานมากกว่านี้ ^_^
     

    วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

    ตรวจสัญญาณมือถือด้วย Opensignalmaps


    สวัสดีครับวันนี้ มีเว็บเจ่งๆ มาให้อัพเดทกันครับ เว็บที่ให้  บริการ Opensignalmaps ใช้ในการสร้างแผนที่ จากฐานข้อมูลผู้ใช้มือถือด้วยตัวเอง   Opensignalmaps นี้จะทำการจับ สัญญาณมือถือของผู้ใช้ โดยทำงานร่วมกับ GPS และส่งข้อมูลไปยังระบบของ Opensignalmaps เพื่อสร้างแผนที่สัญญาณมือถือขึ้นมา ขั้นตอนการทำงานของ Opensignalmaps ผู้ใช้จะต้องไปดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นของ Opensignalmaps ไปติดตั้งเพื่อตรวจสอบเครือข่ายมือถือ ส่วนเจ้าเว็บไซต์เอาไว้ใช้แสดงแผนที่


    Opensignalmaps จะมีอยู่ 2 แบบคือ

    แบบที่ 1 เว็บไซต์ http://opensignalmaps.com  ใช้งานผ่านเบราวเซอร์บนคอมพิวเตอร์ และเบราวเซอร์บนสมาร์ทโฟนได้ เว็บไซต์ Opensignalmaps จะแสดงคลื่นสัญญาณมือถือค่ายที่มีคุณภาพดีที่สุด แสดงความหนาแน่นของสัญญาณ แสดงความเข้มของสัญญาณ บอกความครอบคลุมของสัญญาณ ว่าค่ายไหนครอบคลุมมากที่สุด จำนวนและปริมาณเสาสัญญาณของระบบมือถือของแต่ละค่าย 


    แบบที่ 2 ก็คือการติดตั้ง app Opensignalmaps บนสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ สามารถดาวน์โหลดจาก Google Play และบน iOS เร็วๆนี้ เมื่อเติดติดตั้งแอพเสร็จ ต้องเปิดใช้งาน GPS ด้วย แอพยังสามารถตรวจสอบสัญญาณ Wi-Fi ได้ สมารถทดสอบความเร็วของสัญญาณ หรือ Speedtest โดยแอพจะส่งข้อมูลไปยังระบบเพื่อสร้างแผนที่จากผู้ใช้ที่ติดตั้งแอพนี้บนมือถือ โดยผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้อง ส่งผลการทดสอบ ไม่ต้องส่งข้อมูลใดๆเลย
     
    ลองเอาไปใช้ทดสอบดูนะครับสำหรับใครที่มี สมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ส่วน บน iOS เร็วๆนี้ 
     
     
     

    วิธีเช็คสัญญาณ iPhone ว่าคลื่นโทรศัพท์แรงแค่ไหน แสดงค่าเป็นตัวเลข

    การเช็คสัญญาณโทรศัพท์ของ iPhone นั้น ปกติแล้วเราก็คงทำเหมือนคนอื่น นั่นคือ สังเกตแถบสัญญาณที่อยู่ด้านบนซ้ายของหน้าจอ ว่ามีกี่ขีด ซึ่งยอมรับเลยว่า มันไม่ละเอียดเลย แทบจะใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ ยิ่งในยุค 3G ใหม่ที่กำลังจะมา สัญญาณคงเต็ม 5 ขีดแทบทุกที่ คงเอามาวัดอะไรไม่ได้ แล้วเราจะทำยังไง ???

    วิธีเช็คที่กำลังจะแนะนำต่อไปนี้ เมื่อทำเสร็จแล้ว ต่อไปสัญญาณของเราจะสามารถแสดงเป็นตัวเลขแบบละเอียดยิบได้ว่า iPhone เราแรงแค่ไหน หรือจะเปลี่ยนเป็นระบบขีดสัญญาณก็ทำได้ง่ายๆ

    วิธีการทำให้สัญญาณโทรศัพท์แสดงเป็นตัวเลข

    1. เข้าไปที่หน้าแป้นพิมพ์โทรออก จากนั้นกดหมายเลข *3001#12345#* แล้วกดปุ่มโทรออก

     
    2. iPhone เราก็จะเข้าสู่โหมด Field Test mode ซึ่งโหมดนี่หละมันจะแสดงระบบสัญญาณเป็นตัวเลข ในขั้นตอนนี้เราไม่ต้องสนใจเมนูต่างๆของ Field Test mode  นะครับ
     
     
    3. กดปุ่ม Power ค้างไว้ จนหน้า “Slide to power off” โผล่ขึ้นมา จากนั้นก็ กดปุ่ม Home ค้างจนกว่าจอจะกลับมาที่หน้า Home screen เท่านี้ เราก็จะได้ตัวบอกความแรงคลื่นโทรศัพท์แสดงเป็นตัวเลขแล้ว
    4. หากต้องการให้มันกลับไปใช้ระบบสัญญาณที่แสดงเป็นขีด ก็แค่แตะที่ตัวเลขนั้นครับ และหากแตะครั้งที่สองก็จะกลับมาเป็นตัวเลข เช่นนี้ไปเรื่อยๆ
    5. วิธีอ่านตัวเลขก็คือ ยิ่งตัวเลขมีค่าใกล้ “ศูนย์” เท่าไหร่ ก็แสดงว่าสัญญาณแรงและชัดเจนมากครับ

    หมายเหตุ
    หากต้องการยกเลิกโหมดนี้อย่างถาวร ก็เพียงกด *3001#12345#* อีกครั้ง แล้วกดปุ่ม Home ออกมาเลย
     
     

    วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

    วิธีการสมัครใช้งาน NO-IP (DynDNS) และ Add hostname อย่างละเอียด ฟรี

    สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาแนะนำวิธีการสมัคร no-ip อย่างละเอียดแบบที่ว่าใครคลิ๊กเม้าส์ได้ก็ทำเป็นกันนะครับ
               no-ip เป็น dns ที่นิยมกันแพร่หลาย (เพราะฟรี ^ ^) เพื่อที่หลาย ๆ คนจะนำเอา dns ตัวนี้แหละไปทำการจัดการเพื่อดูกล้องวงจรปิด หรืออื่น ๆ ก็ว่ากันไป แต่วันนี้เราจะเน้นเพื่อการดูกล้องวงจรปิดเป็นหลัก (ดูกล้องออนไลน์) กันนะครับ (ถ้าใครอยากทราบว่า DNS คืออะไร? มีไว้ทำไม? คลิ๊กอ่านได้ที่บทความนี้เลยครับ DynDNS คืออะไร?)

    ขั้นตอนก็มีอยู่ด้วยกันไม่มากไม่น้อย แค่ 7 ขั้นตอน มาเริ่มกันเลยนะครับ

    ขั้นตอนที่ 1 เริ่มต้นด้วยการเข้าเว็บ (เปิด IE, Crome, FireFox อะไรก็ได้ที่เอาไว้ใช้ดูเว็บไซต์ครับ) แล้วพิมพ์ www.no-ip.com <==หรือคลิ๊กที่ลิงค์นี้เลย
    ขั้นตอนที่ 2 พอเข้ามาที่หน้า index ของ www.no-ip.com แล้วให้กดปุ่ม "สีเขียว" Sign Up เพื่อทำการสมัคร ID ครับ
     
    ขั้นตอนที่ 3 กรอกรายละเอียดตามตัวอย่างครับ

     
    หลังจากกด Sign in เรียบร้อยแล้วก็จะเข้าหน้านี้ครับ
    

    ขั้นตอนที่ 4 ทำการ เปิดใช้งาน ไอดี โดยการกดลิงค์เพื่อยืนยันครับ ดังแสดงดังรูป
     
     
     
    ขั้นตอนที่ 5 หลังจากกดลิงค์ที่ทาง no-ip ส่งไปที่ อีเมลล์ของเรา จะเข้าสู่หน้า log-in ครับ
     
     
    ขั้นตอนที่ 6 ขั้นตอนเพิ่ม Hostname ตรงนี้แหละที่เอาไว้ไปดูออนไลน์ครับ
     
     
    ขั้นตอนที่ 7 หลักจากกดปุ่ม Add a Host แล้วจะเข้าสู่หน้า Add Hostname ครับ
     
     
    เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีการสมัคร no-ip และการสมัคร Hostname ครับสิ่งที่เราต้องการคือ Hostname เพื่อนำไป Forward ใน Router ต่อไปครับ
     
     
    ลองมาดูวิธีสมัคร DDNS กันบ้าง "วิธีการสมัครใช้งาน DynDns (DDNS) ฟรี"

     
     
     
    

    วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

    ข้อแตกต่างการทำ Free DynamicDNS ระหว่าง 3G กับ ADSL

    จากบทความที่ผ่านมา เรื่องการใช้งาน IP ของเครือข่าย 3G
    หลายคนอ่านอาจจะยัง งงๆ กันอยู่ วันนี้ผมเลยมาอธิบายให้อีกครั้งเพื่อให้เห็นภาพกันง่ายขึ้นคับ
     
              เอาเป็นว่า....เมื่อไรก็ตามที่คุณต้องการที่จะสร้างเกมส์เซิฟเวอร์หรือเว็บเซิฟเวอร์เอง หรือบริการ IP Cam หรือบริการใดๆ ก็ตามที่ต้องการให้คนจากภายนอกทั่วโลกทำการเชื่อมต่อมาที่เซิฟเวอร์หรือกล้องของคุณได้ แน่นอนครับ … เค้าจำเป็นที่จะต้องรู้ IP Address ของคุณนั่นเอง ซึ่งสิ่งนี้จะไม่ง่ายเลยครับถ้า IP Address ที่คุณได้มาเป็นแบบ Dynamic ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอๆ เพราะว่าคุณจำเป็นที่จะต้องบอกผู้คนที่ต้องการเข้ามาใช้บริการที่เครื่องเซิฟเวอร์ของคุณว่าต้องนี้ IP Address ของคุณเปลี่ยนเป็นเบอร์อะไรไปแล้ว (จินตนาการง่ายๆ หากคุณเปลี่ยนเบอร์มือถือของคุณทุกๆ วันนั่นแหละครับ… เหนื่อแน่ๆ ที่จะต้องมานั่งบอกคุณที่อยากจะติดต่อกับคุณ)

    Check IP ของคุณที่นี่ "http://www.checkip.org/"
     
              หรืออีกทางหนี่งก็คือการทำ VPN ให้ Client ของเราเข้ามาอยู่ในวงเดียวกับเรา แต่วิธีนี้ค่อนข้างยุ่งยากสักเล็กน้อย และในเมื่อเรามีวิธีที่ง่ายกว่าก็คือเรียกตาม Public IP ทำไมจะต้องทำอะไรให้ยุ่งยากอีกจริงมั้ยคับ
     
              Internet ที่เราใช้กันมี 2 แบบ คือ มีสาย(ADSL)กับไร้สาย(3G) ทั้งสองแบบมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกัน หลักแล้วก็คือ แบบมีสายจะได้ BW ที่สูงกว่าแบบไม่มีสาย แต่แบบไร้สายหรือ 3G จะได้เปรียบเรื่องของความสะดวกสบายในการใช้งานเคลื่อนย้าย การติดตั้ง และที่ที่พวกสายลากไปไม่ถึง
     
              ADSL : ส่วนใหญ่ Net ที่เราใช้ๆกันอยู่ต้อนนี้ก็คือแบบมีสาย ที่เรียกกันว่า ADSL นั้นเอง และเท่าที่ผมสอบถามมา พวก ADSL เค้าจะแจก Public IP หรือ IP จริง แต่เมื่อใดก็ตามที่คุณทำการตัดการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแล้ว IP Address ดังกล่าวก็จะถูกแจกจ่ายไปให้คนอื่นๆ ที่ทำการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนั่นเองครับ เค้าถึงเรียกว่า Dynamic IP
     

              ดังนั้นเมื่อ IP ที่คุณได้ที่ Router เป็น Public IP อยู่แล้ว และติดปัญหาแค่มันเปลี่ยนตลอดเวลาเท่านั้นละก็ เราสามารถแก้ได้ด้วยการใช้งาน Free Dynamic DNS ได้เลย -> "วิธีการสมัครใช้งาน DynDns (DDNS) ฟรี"
     
              3G : แต่กับ 3G ไม่เป็นเหมือน ADSL เจ้าของเครือข่ายของเราจะจ่ายเป็น Private IP ให้เราเสมอแถมยัง Random ให้เราก่อนซะด้วย ดังนั้น เวลาออก Net เครือข่ายจะ NAT ก่อนออกไป ซึ่ง Public IP ที่ออกอยู่บนเครือข่าย 3G ไม่ได้อยู่ที่ Router ของผู้ใช้ ทำให้การทำ DynDNS จึงเป็นไปไม่ได้ เพราะ IP ที่ถูก Map กับ Host นั้นเป็น IP ของเครือข่าย แต่ไม่สามารถกลับมาที่เสาได้ นอกจากจะทำ FW Port ที่เสาสัญญาณ
     
     
              การแก้ปัญหา คือต้องให้ผู้ให้บริการของเรา Fix Public IP ที่ SIM ให้ ซึ่ง my สามารถ Fix IP แบบ Public IP ที่ SIM my โดยการกำหนด APN เฉพาะสำหรับ SIM นั้นๆ และค่าบริการแบบ Fix IP ของ my (VPN) ก็ตกอยู่ราวๆ 1,549 บาท/เดือน ใช้ Data 6G Unlimit (6G Unlimit  ก็คือ ใช้งาน 3G 6G แรกและหลังจากนั้น 6G ปรับเป็น 356K Unlimit)
     
     
    CR : iF2u

    วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

    คู่มือ (Manual) ipad มีหรือไม่มี


                ทุกๆ คนที่ใช้งานหรือเป็นเจ้าของ iPad คงทราบกันดีว่า iPad ไม่มีการให้คู่มือในการใช้งานให้ เหตุผลง่ายๆ คือ ทาง Apple เชื่อว่า เราสามารถใช้งาน iPad ได้โดยเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง เพราะการพัฒนาคำสั่งต่างๆ ของ iPad เน้นการใช้งานแบบธรรมชาติทั่วไป
                จริงๆ แล้วทาง Apple เองก็มีคู่มือในการงาน iPad เหมือนกัน แต่ไม่ได้มาพร้อมในกล่องของ iPad แต่เราสามารถ download ได้จากเว็บไซต์ของ Apple โดยตรง ถ้าใครสนใจก็สามารถคลิกลิงค์ด้านล่างนี้ เพื่อ download คู่มือการใช้งาน iPad ได้ฟรีครับ

    #ลิงค์ดาวน์โหลด?? http://manuals.info.apple.com/en_US/iPad_User_Guide.pdf (ภาษาอังกฤษนะคับ)

    CR : http://it-guides.com/training-a-tutorial/training-ipad/ipad-manual

    #############################################################################

    สำหรับคู่มือภาษาไทยก็ตาม Link นี้เลยคับ

    https://docs.google.com/file/d/0ByWmGiRjiRU1ZXVaRzhDaFBLanM/edit?usp=sharing

                แต่ของฟรีก็คือของฟรีละคับ มันไม่ได้บอกในสิ่งที่เราอยากจะรู้ได้หมดหรอคับ และคนส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยนิยมอ่านคู่มือหรือหนังสือที่เค้าเขียนขายกันเป็นเล่มๆกันแล้วละคับ หากันตาม net ซึ่งอาจจะได้การแก้ปัญหาที่รวดเร็วและตรงจุดมากกว่า
                ซึ่งเอาจริงๆแล้วผมคิดว่าเจ้า iPad สามรถทำอะไรได้มากกว่าดูหนัง,ฟังเพลงและเล่น net เพียงแต่เรายังใช้งานมันได้ไม่เต็มความสามารถของมันเท่านั้นเองคับ แต่ผมก็ยังเห็นความพยายามในการใช้งาน iPad ให้คุ้มกับตัวเงินที่จ่ายไปกันอยู่มากมายบน Internet เรียกว่า เรียนรู้ด้วยตัวเอง+ช่วยคนอื่นไปในตัว แบบแชร์ความรูู้กันเองนั้นละคับ

                วันนี้ผมเลยเอา link Video Manual ของ iPad มาให้ลองดูกันคับ แต่เป็นภาษาอังกฤษนะคับ แต่ผมว่าเราดูภาพ Video นั้นเข้าใจง่ายกว่าการอ่าน ยังไงก็ลองดูกันนะคับ

     

    Link Video Manual iPad : http://tinyurl.com/if2u-ipad




    CR : iF2u ,http://tinyurl.com/if2u-ipad

    วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

    การสมัครเป็นสมาชิกกับ ClickBank Affliate

    การสมัครเป็นสมาชิกกับ ClickBank มี 2 ช่องทาง

    ช่องทางที่ 1. เป็นผู้ขาย (Vendors) :

    ขั้นตอนที่ 1: สร้างผลิตภัณฑ์ดิจิตอล

    เวโรนิกา รักการฝึกอบรมสุนัข เธออยากจะแบ่งปันความเชี่ยวชาญของเธอกับคนอื่น ๆ และเปิดความรักของเธอให้เป็นกำไรได้ในเวลาเดียวกัน เธอจึงสร้าง e-book ที่เรียกว่า “ การฝึกสุนัข 1,2,3 “ และสร้างเว็บไซต์ที่ง่ายในการส่งเสริม e-book ของเธอ ตามความต้องการในวิธีการดึงดูดลูกค้า


    ขั้นตอนที่ 2 : เข้าร่วม Clickbank

    เวโรนิกา พบว่า ClickBank เสนอรายละเอียดที่ไม่ซ้ำกันในสภาพแวดล้อมการค้าปลีกออนไลน์ สำหรับผลิตภัณฑ์ดิจิตอล เช่นe-book ของเธอที่ ClickBank นอกจากนี้ยังมีนักการตลาดที่เป็นพันธมิตรที่ทำงานมากกว่า 100,000 คน พร้อมที่จะส่งเสริม "การฝึกสุนัข 1,2,3" ในการแลกเปลี่ยนสำหรับค่านายหน้า เวโรนิกาจึงเข้าร่วมที่ ClickBank


    ขั้นตอนที่ 3 : ตั้งราคาค่าสินค้า

    กับ ClickBank  Veronica อยู่ในการควบคุม เธอทำงานด้วยที่ ClickBank เพื่อแนะนำราคาขายปลีกและนายหน้าพันธมิตร เธอต้องการที่จะจ่ายสำหรับการ "ฝึกสุนัข 1,2,3." เวโรนิก้าแล้วส่ง e-book ของเธอให้ ClickBank เพื่อขออนุมัติ


    ขั้นตอนที่ 4 : เปิดใช้งานผลิตภัณฑ์

    ClickBank ได้อนุมัติผลิตภัณฑ์อย่างรวดเร็วให้ Veronica และเธอต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมการเปิดใช้ครั้งเดียว $ 49.95
    "ฝึกสุนัข 1,2,3" คือตอนนี้อาศัยอยู่ในตลาด ClickBank และพร้อมใช้งานสำหรับ นายหน้าเพื่อทำการตลาด


    ขั้นตอนที่ 5 : กำไรจากความคิดที่ดี

    ClickBank จ่ายให้ Veronica และนายหน้าในเครือของเธอโดยอัตโนมัติ สำหรับการขายที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง ทำให้เธอมีเวลาและเงินเพื่อใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ดีของเธอต่อไป

    ช่องทางที่ 2. เป็นนายหน้า Affiliates :

    ขั้นตอนที่ 1: เข้าร่วม Clickbank

    อลัน พร้อมที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจสร้างเงินออนไลน์ เขาตัดสินใจและพร้อมที่จะเปิดใจของเขาเป็นผู้ประกอบการเพื่อหากำไร โดยไปที่ ClickBank เพื่อลงทะเบียนสำหรับเปิดบัญชีฟรี ตอนนี้เขาก็พร้อมที่จะเริ่มการส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ดิจิตอล

    ขั้นตอนที่ 2: พบกับผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริม

    อลัน เยี่ยมชมตลาด Clickbank และมีการเข้าถึงได้ทันทีมีนับหมื่นรายการ ของผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้สำหรับทำโปรโมชั่น โดยไม่มีสัญญาหรือรอเวลา !
    อลัน เขารักสุนัขและเลือกการ "ฝึกสุนัข 1,2,3" e-book โดยมี Veronica เป็นผู้ขาย ภายในไม่กี่วินาทีเขาก็สร้าง URL HOPLINK ส่วนบุคคล™ เพื่อใช้สำหรับติดตามในการอ้างอิง


    ขั้นตอนที่ 3: ส่งเสริมพันธมิตร HopLink

    อลัน ไปทำงานออนไลน์โดยโพสต์ข้อความ HOPLINK™ติดตาม URL ของเขาอ้างอิงในบล็อกสัตว์เลี้ยงการฝึกอบรมของเขาในความคิดเห็น e-book เขาเขียนสำหรับฟอรั่มสุนัขฝึกอบรมที่เขาชื่นชอบ และในจดหมายข่าวทางอีเมลล์ของเขาสำหรับเจ้าของสุนัข

    ขั้นตอนที่ 4: ClickBank รางวัลการขายของแต่ละคน

    การทำงานอย่างหนักของเขา ClickBank จ่ายออกค่านายหน้าของอลัน (ไม่เกิน 75% ของการขาย) สำหรับแต่ละคนที่คลิกสั่งซื้อบน HOPLINK ™ติดตาม URL อ้างอิงของเขา  และซื้อ e-book ของเวโรนิก้า

    ขั้นตอนที่ 5: ค้นหาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์อื่น ๆ

    อลัน กลับไปที่ตลาดและเลือกผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการขายของเขา (ให้มากที่สุดเท่าที่เขาต้องการ)

    CR : http://thai-clickbank.blogspot.com/2012/03/clickbank.html

    ##############################################################################

           จากบทความด้านบนคงทำให้ผู้อ่านเข้าใจการเป็นสมาชิกของ ClickBank มากขึ้น ที่นี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณเองว่าจะเลือกสมัครเป็นสมาชิกแบบไหน หรือจะเลือกทั้ง 2 แบบเลยก็ได้นะคับ

    >> วิธีสมัคร Clickbank Affliate <<

    >> การทำเงินกับ Clickbank อาณาจักร Affiliate โปรแกรม <<

     
     

    วิธีสมัคร Clickbank Affliate

    1.ไปที่เว็บ www.clickbank.com
    2.เมื่อเข้ามาแล้ว จะพบกับตัวอย่างดังรูป และคลิ้กที่ปุ่ม Sign Up ด้านบน เพื่อทำการสมัครสมาชิก
    3.แล้วมาดูที่ตามภาพครับ ในส่วนของ affiliate คลิกที่ช่องแรก (เราจะช่วยเค้าโฆษณาสินค้าใน clickbank ครับ)
    4.จะเจอหน้า http://www.clickbank.com/clickbank-for-affiliates/ เลื่อนลงมาด้านล่างจนกว่าจะเจอ
    5.Click SIGN UP NOW และกรอกข้อมูลการสมัคร
    ***Your Contact Information กรอกทุกอย่างเป็นภาษาอังกฤษ
    รายละเอียดเหล่านี้เค้าจะนำมาใส่เช็ค เพื่อส่งมาให้  ไปรษณีย์ไทยดูออก ก็ใช้ได้แล้วครับ
    You Location คุณอยู่ที่ไหน อยู่ไทย ก็ใส่ Thailand ครับ
    First Name ชื่อ
    Last Name นามสกุล
    Address(line1) ที่อยู่ ถ้าไม่พอติดบรรทัดที่ 2
    Address(line2)
    City or Town ก็ อำเภอ หรือเขตแขวงก็ว่าไป
    Province จังหวัด
    Post Code รหัสไปรษณีย์
    Phone Number ใส่เบอร์โทร ..ประเทศไทยก็ 668....... ตามด้วยเบอร์โทรโดยตัด 0 ตัวหน้าออก
     เช่น 089-4206283 ก็เป็น 6684206283 เขียนติดกันเลยก็ได้
     ใส่ตามจริงได้เลย เค้าไม่โทรหรอกครับ ไม่ต้องกลัวคุยกันไม่รู้เรื่อง
    Email Address ใส่ e-mail
    Email Format ก็ตามนั้นครับ(รับข้อมูลแบบภาพได้ แบบ html ได้)
     
    Nickname ตั้งชื่อขึ้นมาครับ ใช้ login เข้า clickbank แล้วชื่อนี้จะใช้เป็น user name เป็น clickbank ID
    Password ตั้งพาสเวิร์ด คำแนะนำในการตั้งพาส
    At least 2 upper-case letters มีอักษรตัวใหญ่ในพาสอย่างน้อย 2 ตัว
    At least 2 lower-case letters มีอักษรตัวเล็กในพาสอย่างน้อย 2 ตัว
    At least 2 numbers มีตัวเลขในพาสอย่างน้อย 2 ตัว
    At least 2 special characters, for example: !@#$%^&* มีอักษรพิเศษในพาสอย่างน้อย 2 ตัว
    เค้ากำหนดแบบนี้เพื่อความปลอดภัยของเราครับ ถ้าตั้งถูกตามนั้นแล้ว เครื่องหมายถูกจะขึ้นทั้ง 4 หัวข้อ
    Payee Name กรอกชื่อผู้รับเช็คครับ
    คลิกที่ช่อง I have read and agree to the terms and conditions
    ใส่รหัสตามภาพ แล้วคลิก SUBMIT ACCOUNT REGISTRATION ได้เลยครับ
    จากนั้นเข้าเช็ค e-mail ของเรา
    ระบบจะส่งเมล์ไปยัง e-mail ของเราเพิ่อให้เราคลิก ยืนยันการสมัคร ก็เป็นอันเสร็จครับ
     
    #############################################################################
     
    พอเราเป็นสมาชิกแล้ว ก็ login มาที่หัวข้อ Account Settings มาเซ็ต จำนวนต่ำสุดที่จะให้ส่งเช็คมาให้
     
    ก็ถึงขั้นตอนในการเลือกที่จะโปรโมท หรือเป็นตัวกลางในการขายสินค้า หรือธุรกิจต่างๆในเว็บต่างๆในเครือข่ายของ ClickBank ครับ เราก็ login เข้าไป แล้วไปที่หัวข้อ Marketplace ก็จะมีหัวข้อต่างๆให้เลือกมากมาย คลิกเข้าไปดูหัวข้อต่างๆ
    หรือจะ search หาสินค้าต่างๆก็ได้
    ตัวอย่างสินค้า เช่นมาในหัวข้อ Green Products ก็จะมีสินค้าพร้อมรายละเอียด
    คลิกชื่อสินค้า ดูหน้าเว็บโฆษณานั้นๆ Promote คือสร้างลิ้งค์โฆษณา ไว้ให้เราใช้ในการโฆษณาครับ
    ตัวอย่าง 3 สินค้านี้ Avg%/sale จะจ่ายให้เรา 75%, 75%, 60% จากสินค้าที่เราขายได้
    Initial $/sale
    สินค้าแรกจ่าย $44.23 ต่อ 1 รายการ
    สินค้าที่ 2 จ่าย $29.44 ที่ 3 จ่าย $12.82
    ได้เยอะพอสมควรเลยครับ เราชอบสินค้าไหนก็ไปที่ปุ่ม PROMOTE
    Avg Rebill Total คือ ค่าแนะนำเพิ่มเติมที่เราอาจจะได้รวมทั้งหมด ซึ่งสินค้าการเรียกเก็บลักษณะสมาชิก เช่นจ่ายรายเดือน หรือจ่ายต่อเนื่องครับ
    Avg %/rebill คือ % ที่ลูกค้าจะจ่ายเพิ่มครับในออฟชั่นเสริมอื่นๆของสินค้าครับ
    Grav คือ ค่าความนิยมของสินค้า
    การโปรโมท เมื่อคลิกปุ่ม PROMOTE ก็จะมีให้เรากรอก Account NickName ของ clickbank (ชื่อ account name ของเราครับ)
    สำหรับ Tracking ID ไม่ต้องกรอกก็ได้ครับ (อะไรทางเน็ตถ้ามีคำว่า optional แปลว่าใส่ก็ได้ไม่ใส่ก็ได้ครับ)
    Tracking ID ใส่เพื่อไว้ติดตามดูข้อมูลการโปรโมทอย่างละเอียดครับ แล้วก็กด CREATE
    เสร็จแล้วคลิก Submit ก็จะมีลิ้งค์โฆษณาให้เราครับ เอาไว้ให้เราโฆษณาตามที่ต่างๆ
    ก็จะได้ลิ้งค์ไว้โปรโมท แบบธรรมดา และแบบ HTML ครับ แล้วแต่จะเลือกไปติดเว็บเพื่อโปรโมทครับ คือให้คนที่จะซื้อสินค้าคลิกผ่านลิ้งค์โปรโมทนี้ เราก็จะได้ค่าแนะนำครับ
    และมีหลายเว็บที่ ช่วยทำสื่อโฆษณาต่างๆให้เราได้โฆษณาได้ง่ายขึ้น โดยที่เราพยายามเข้าเว็บโฆษณาเหล่านั้น แล้วหาคำว่า affiliate เพื่อดูว่า ถ้าจะช่วยเว็บเค้าโฆษณา เค้าจะให้เราทำอย่างไรบ้าง
    เค้าก็บอก ว่า เรามี account clickbank หรือยัง ถ้ายัง  ก็สมัครก่อน แล้วก็เอา ชื่อ account ไปใส่ตาม แบนเนอร์  หรือ สื่อโฆษณาต่างๆที่เค้าทำให้
     

    ข้อกำหนด การจ่ายเช็คใบแรก หรือ CDR ของ Clickbank คือ

    1.รายการที่ขายได้ จะต้องประกอบด้วยการซื้อ ด้วย 5 เครดิตการ์ดที่แตกต่างกัน
    2.การขายได้ รายการซื้อจะต้องประกอบด้วย วิธีการซื้อ อย่างน้อย 2 วิธีที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ซื้อด้วย บัตร Visa ซื้อด้วยบัตร MasterCard หรือซื้อด้วย Paypal (สำหรับบัตรเว็บการ์ด หรือ Shopping Card ของกสิกรไทย เข้าข่ายบัตร Visa ครับ)
    3. การที่ลูกค้าซื้อด้วย Paypal จะไม่นำมานับรวม ข้อกำหนด การซื้อด้วย 5 เครดิตการ์ดที่แตกต่างกัน
     
    ...ถ้าขายได้ถูกต้องตามนี้ ทาง clickbank จะส่งเช็คใบแรกมาให้นะครับ ..สำหรับเช็คใบต่อไปไม่มีข้อกำหนดครับ สามารถสั่งมาได้ยอดต่ำสุดตั้งแต่ 10 เหรียญขึ้นไป ..แต่ข้อแนะนำถ้าจะให้คุ้ม เพราะได้เช็คแล้วต้องเอาเช็คเข้าธนาคาร เสียค่าธรรมเนียมอย่างน้อย 203 บาท ต่อเช็ค 1 ใบ (บางแบงค์จะคิดแพง คิดค่าธรรมเนียม 10 เหรียญ หรือราว 3 ร้อยกว่าบาท ถ้างัยก็คุยกะพนักงานแบงค์ดูนะครับ) ฉะนั้น ควรสั่งจ่ายอย่างต่ำมาที่ 100 - 250 เหรียญ ขึ้นไปกำลังดีครับ
     

    เพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อกำหนด

    เราสามารถนำสินค้ากี่ตัวก็ได้ของ clickbank มาโฆษณา
    โดยจะมีข้อกำหนดกรณีที่เราขายได้ มีเงินใน account แล้ว คือกรณีที่เรามียอดเงินใน account แล้ว จากนั้น ไม่มียอดเพิ่ม ขายไม่ได้อีกเกิน 90 วัน โดนหัก period ละ $1 หรือ หัก 1 เหรียญ ทุก 2 สัปดาห์ ( ระยะเวลา period ประมาณ 2 สัปดาห์นะครับ)
    หลัง 180 วัน โดนหัก period ละ $5 และ ถ้าขายไม่ได้ภายใน 365 วัน โดนหัก period ละ $15
     
     . ..หักจากยอดเงินที่มีนะครับ ถ้าไม่มียอดเงินก็ไม่หัก
     
    แต่ไม่ต้องเป็นห่วงครับ เราสามารถ เซ็ต จำนวนขั้นต่ำในการให้ clickbank ส่งเช็คมาให้ได้ โดยต่ำสุดอยู่ที่ $10 $25 $50 $100 $250 ... เป็นต้น หมายความว่า สมมุติว่าเราเซ็ตขั้นต่ำการจ่ายเช็คไว้ที่ $100
    แต่ตอนนี้ เรามียอดใน account 80 เหรียญ แล้วเราคิดว่า ไม่สามารถ วางแผนเพื่อให้มียอดเข้ามาเพิ่มได้เลย ภายใน 90 วัน  เราไม่อยากถูกหัก 1 เหรียญ ทุก 2 สัปดาห์ เราก็ไปเซ็ต ขั้นต่ำการสั่งจ่าย ให้น้อยลงมา เช่น เซ็ตขั้นต่ำไว้ที่ 50 เหรียญเป็นต้น  เค้าก็จะจ่ายเช็ค 80 เหรียญมาให้เรา เพราะยอดเราเกินยอดขั้นต่ำแล้ว
    ตัวอย่างเช็ค

     >> การสมัครเป็นสมาชิกกับ ClickBank Affliate <<