มองแบบง่ายๆก็เหมือนเมื่อครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงจากทีวีขาวดำ --->มาเป็นทีวีสีนั่นเอง เพียงแต่ในยุคนั้นการใช้ทีวีในแต่ละครัวเรือนยังมีจำนวนไม่มากนัก การเปลี่ยนแปลงจึงเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะคนที่ซื้อทีวีเครื่องใหม่ ก็จะเลือกซื้อแต่เครื่องทีวีสี จนกระทั่งทีวีขาวดำค่อยๆหายออกไปจากท้องตลาดในที่สุด
สำหรับระบบทีวีที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เรียกว่าทีวีอนาล็อก (Analog) เป็นการนำเอาสัญญาณภาพมาผสมกับสัญญาณวิทยุ โดยใช้สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินเป็นตัวส่งสัญญาณ ซึ่งตามบ้านก็จะใช้เสาอากาศรับสัญญาณที่เรียกกันว่า "เสาก้างปลา" หรือ "เสาหนวดกุ้ง" นั่นเอง ซึ่งข้อเสียของสัญญาอนาล๊อกคือถูกสัญญาณรบกวนได้ง่าย อาจทำให้รับภาพเสียงไม่ชัด
ทีวีดิจิตอล (Digital TV) คือทีวีที่รองรับการออกอากาศในรูปแบบดิจิตอล ให้สัญญาณภาพและเสียง ที่มีคุณภาพดีกว่าแบบอนาล็อก และใช้คลื่นความถี่ที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยดิจิตอลทีวี จะใช้สัญญาณดิจิตอลที่ถูกบีบอัดและเข้ารหัสที่มีค่าเป็น "0" กับ "1" เท่านั้น ซึ่งในหนึ่งช่วงคลื่นความถี่จะสามารถนำมาส่งได้หลายรายการโทรทัศน์ พร้อมสัญญาณภาพและเสียงที่มีความละเอียดคมชัดมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบัน ในต่างประเทศทั้งในยุโรป แอฟริกา และเอเชีย ได้เริ่มเปลี่ยนมาใช้สัญญาณโทรทัศน์แบบทีวีดิจิตอลแล้วมากกว่า 38 ประเทศ
ข้อดีของทีวีดิจิตอล ระบบ Digital นั้นจะทำให้เราได้รับชมภาพแบบ High- Definition หรือ HD ได้ ซึ่งมีความคมชัดสูง และรับชมกับโทรทัศน์แบบ Wide Screen 16:9 ได้อย่างเต็มจอ โดยอัตราส่วนไม่ผิดเพี้ยนแต่อย่างใด ( ทุกวันนี้ทีวีที่ออกอากาศในบ้านเราส่งสัญญาณมาแบบ 4:3 ) รวมถึงช่องสัญญาณฟรีทีวีที่จะมีให้รับชมมากขึ้นถึง 48 ช่อง โดย 24 ช่องเป็นของเอกชน อีก 24 ช่อง เป็นของรัฐบาล และจะมี 4 ช่องที่แพร่ภาพแบบ HD และจะไม่มีอาการสัญญาณขาดๆหายๆเหมือนอย่าง Analog TV ที่ภาพเป็นเม็ดๆอีกต่อไป จะมีแต่ "รับได้ ภาพขึ้น" กับ "รับไม่ได้ ภาพไม่ขึ้น"
โดย กสทช. มุ่งให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ไปสู่ระบบดิจิตอล เพื่อให้การใช้คลื่นความถี่มีประสิทธิภาพ สามารถจัดให้ภาคประชาชนได้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการโทรทัศน์ ตามเจตนารมณ์กฎหมาย การส่งเสริมการใช้โครงข่ายร่วมกัน และ การส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนสามารถรับสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตอลได้อย่างทั่วถึง โดยเริ่มรับส่งสัญญาณระบบดิจิตอลได้ภายใน 4 ปี และ มีจำนวนครัวเรือนที่สามารถรับสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ภายใน 5 ปี
ช่องรายการโทรทัศน์ระบบดิจิตอล
คณะกรรมการ กสทช. ได้กำหนดจำนวนช่องรายการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลไว้ทั้งหมด 48 ช่อง ประกอบด้วยช่องรายการประเภทต่างๆ ดังนี้
1. บริการสาธารณะ จำนวน 12 ช่อง
2. บริการทางธุรกิจ จำนวน 24 ช่อง
2.1 รายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว (SDTV) จำนวน 3 ช่อง
2.2 รายการข่าวสารหรือสาระ (SDTV) จำนวน 7 ช่อง
2.3 รายการทั่วไป แบบความคมชัดมาตรฐานปกติ (SDTV) จำนวน 7 ช่อง
2.4 รายการทั่วไป แบบความคมชัดสูง (HDTV) จำนวน 7 ช่อง
3.บริการชุมชน (SDTV) จำนวน 12 ช่อง
ประเทศไทยใช้ระบบ Digital TV แบบไหน ?
ประเทศไทยเลือกใช้ระบบ DVB-T2 หรือ (Digital Video Broadcasting – Terrestrial 2nd generation) ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ของการส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ซึ่งพัฒนามาจากระบบ DVB-T (Digital Video Broadcasting – Terrestrial ) ที่ประเทศไทยไม่ได้ใช้ แต่ข้ามไป T2 เลย ( เจ๋งปะล่ะ ! ^^ ) ข้อดีคือมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่องสัญญาณมากกว่าแบบ Terrestrial เดิมถึง 1.5 เท่า สามารถส่งสัญญาณความละเอียดสูงแบบ HD หรือ Full HD ได้ ที่สำคัญคือระยะส่งที่ไกลกว่าเดิม โดยในปัจจุบันหลายประเทศกำลังทดลองใช้ระบบนี้ รวมถึงประเทศในกลุ่มอาเซียนทั้งหมดก็ตกลงร่วมกันว่าจะใช้ระบบ DVB-T2
การรับชมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล
กสทช. ได้กำหนดมาตรฐานการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลด้วย ระบบ DVB-T2 (Digital Video Broadcasting – Terrestrial 2nd generation) มาตรฐานความคมชัดแบบ SDTV และ HDTV โดยใช้ความถี่ย่าน UHF ในการออกอากาศ ซึ่งประชาชนจะสามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอลได้ดังนี้
1. เครื่องรับโทรทัศน์ระบบดิจิตอล ซึ่งจะมีจูนเนอร์ (Tuner) รับสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอล DVB-T2 อยู่ภายในเครื่องรับเรียบร้อยแล้ว
2. กล่องรับสัญญาณ (Set Top Box) แบบ DVB-T2 โดยนำสัญญาณ AV หรือ HDMI จาก กล่อง DVB-T2 ต่อเข้ากับเครื่องรับโทรทัศน์ระบบอนาล็อกที่มีอยู่เดิม
โดยในช่วงระยะเวลาการเปลี่ยนผ่านไปสู่โทรทัศน์ระบบดิจิตอลนี้ กสทช. ได้กำหนดให้มีการส่งสัญญาณ ระบบอนาล็อก ควบคู่กับ ระบบดิจิตอล ซึ่งทำให้ประชาชนที่มีเครื่องรับโทรทัศน์ระบบอนาล็อกเดิม ยังสามารถรับชมช่องรายการระบบอนาล็อกได้ไปอีกระยะหนึ่ง นอกจากนั้น การส่งสัญญาณในระบบดาวเทียม กสทช. ยังได้มีประกาศ กฎ Must Carry ให้ประชาชนสามารถรับชมช่องรายการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลผ่านทางจานดาวเทียมได้ด้วย โดย กสทช. จะเริ่มทำแผนยุติการส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบอนาล็อกในปี 2558
ถ้ายังอยากใช้แบบเก่า จะสามารถดูฟรีทีวีได้หรือไม่ ?
ถ้าที่บ้านไม่มี Digital TV ที่สามารถรับ DVB-T2 ได้ และยังไม่มีกล่องรับสัญญาณ Set Top Box ก็ยังสามารถรับชมฟรีทีวีเหมือนเดิมได้ทุกประการ ผ่านการส่งสัญญาณแบบ Analog ที่ใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน ซึ่งรัฐบาลมีข้อตกลงว่าจะทำการแพร่ภาพระบบ Analog และ Digital ควบคู่กันไป จนถึงปี 2563 หรืออีกประมาณ 7 ปีนั่นเอง
** ข้อตกลงการแพร่ภาพระบบ Analog เป็นข้อมูลเมื่อเดือนมกราคม 2556 **
ถ้าที่บ้านใช้ระบบ "จานแดง จานเหลือง" อยู่แล้วล่ะ ?
ต้องแยกกันระหว่างระบบที่ส่งสัญญาณภาพพื้นดิน กับระบบดาวเทียม ถ้าที่บ้านใช้จานรับสัญญาณดาวเทียมดูผ่าน Set Top Box อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นของ True Vision , GMM-Z และอื่นๆ ก็ยังสามารถรับชมได้ตามปกติครับ ไม่มีปัญหาใดๆ
ทีวีที่วางขายในปัจจุบันมีรุ่นใด ยี่ห้อใดบ้างที่มี Digital Tuner DVB-T2 ?ณ ปัจจุบันทีวีที่วางขายในประเทศไทย น้อยมากที่มี Digital Tuner แบบ DVB-T2 แต่คาดการณ์ว่าในปี 2013 นี้ ทีวีที่กำลังจะเปิดตัวตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป บางรุ่นจะมี Digital Tuner DVB-T2 ติดมาด้วยแน่นอน !! โดยเฉพาะบิ๊ก 4 อย่าง Sony , LG , Samsung , Panasonic ส่วนจะเป็นรุ่นใด ราคาเท่าใด ต้องรอติดตามครับผม
ฟังแบบนี้แล้วหลายคนอาจมีคำถามว่า แล้วจะต้องซื้อทีวีเครื่องใหม่ที่เป็นทีวีดิจิตอลหรือเปล่า?? คำตอบคือ..นั่นก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่กำลังมองหาทีวีเครื่องใหม่อยู่พอดี การเลือกซื้อทีวีดิจิตอลก็สามารถตอบโจทย์นี้ได้ แต่สำหรับผู้ที่มีทีวีเดิมอยู่แล้ว บางคนบอกว่าเพิ่งจะถอยมาใหม่ไม่กี่เดือนนี้เอง หรือยังไม่พร้อมที่จะทุ่มทุนเปลี่ยนทีวีทั้งเครื่องแบบนั้น ก็ยังมีอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่เรียกว่า กล่องรับสัญญาณ "Set Top Box" ซึ่งอุปกรณ์ตัวนี้จะทำหน้าที่ถอดรหัสสัญญาณดิจิตอล แล้วส่งภาพและเสียงให้อยู่ในรูปแบบที่ทีวีอนาล็อกเครื่องเดิมรับได้ โดยผ่านสาย HDMI, AV, หรือ RG6 เพียงเท่านี้ก็สามารถรับชมทีวีในระบบดิจิตอลได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็นกันได้แล้ว
ส่วนท่านที่กำลังจะซื้อทีวีเครื่องใหม่เร็วๆนี้ รออีกสักนิดซื้อทีวีที่มีสัญลักษณ์ "DVB-T2" ซึ่งรับสัญญานดิจิตอลได้เลยน่าจะคุ้มกว่าคับ
CR : http://ทีวีดิจิตอล.ไทย
http://www.catdatacom.com/th/site/news/news_detail/111
http://www.lcdtvthailand.com/review/detail.asp?param_id=1492
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น