วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2561

อุปกรณ์ LoRa (SX1276 868MHz/915MHz ESP32 LoRa Module Bluetooth WIFI Kit IOT Development board)

                      วันนี้เราจะมาพูดถึงอุปกรณ์ LoRa Node(SX1276 868MHz/915MHz ESP32 LoRa Module Bluetooth WIFI Kit IOT Development board) หรืออุปกรณ์ที่เอาไว้เชื่อมต่อระหว่าง Sensor และ Gateway LaraWAN ที่สามารถใช้งานผ่านโครงข่าย LoraWAN AS923MHz ของ CAT กันนะครับ

                      ที่เลือกตัวนี้เพราะใช้ Board ESP32 ที่มี Interface WiFi ,BLE low-power Bluetooth และสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายผ่าน โปรแกรม Arduino IDE ซึ่งมี Free Libraries ทั้งยังมีตัวอย่าง Code อยู่มากมายใน Internet ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

                      ESP32 ถูกพัฒนาต่อจาก ESP8266 โดยเพิ่มความสามารถหลายๆด้านให้เหนือกว่า ESP8266 ที่เห็นได้ชัด คือ มีพอร์ต DAC , Blutooth มและยังมีเซ็นเซอร์ติดมากับตัวบอร์ด นั้นก็คือเซ็นเซอร์สัมผัส เซ็นเซอร์อุณหภูมิ และเซ็นเซอร์วัดคลื่นแม่เหล็กรบกวน แต่ ESP32 ไม่สามารถเขียน Code แบบอนาล๊อค PWM เหมือน ESP8266 ได้นะคับ เช่น analogWrite(5, 1023);
                      ฟีเจอร์หลัก
                      240 MHz dual core Tensilica LX6 microcontroller with 600 DMIPS
                      Integrated 520 KB SRAM
                      Integrated 802.11 b/g/n HT40 Wi-Fi transceiver, baseband, stack and LwIP
                      Integrated dual mode Bluetooth (classic and BLE)
                      16 MB flash, memory-mapped to the CPU code space
                      2.3V to 3.6V operating voltage
                      -40°C to +125°C operating temperature
                      On-board PCB antenna / IPEX connector for external antenna
                      มาตรฐานรองรับด้านความปลอดภัย
                      WEP, WPA/WPA2 PSK/Enterprise
                      Hardware-accelerated encryption: AES/SHA2/Elliptical
                      Curve Cryptography/RSA-4096
                      ความสามารถ
                      Max data rate of 150 Mbps@11n HT40, 72 Mbps@11n HT20, 54
                      Maximum transmit power of 19.5 dBm@11b, 16.5 dBm@11g, 15.5 dBm@11n
                      Minimum receiver sensitivity of -97 dBm
                      5 μA power consumption in Deep-sleep
  • MicroPython-ESP32 รองรับการใช้งานพื้นฐานภาษา Python ส่วนใหญ่ได้ รองรับการจัดการ WiFi การเชื่อมต่อต่างๆ ของ ESP32
  • Espruino on ESP32 ใช้ภาษา JavaScript ในการสั่งงานและรองรับการเขียนโปรแกรมแบบ Text
  • ภาษาบล็อก (Block) และ LuaNode ก็รองรับคำสั่งที่ใช้บน Lua จริง ๆ แทบทุกคำสั่ง และรองรับการควบคุม WiFi ได้เต็มรูปแบบ

                      ที่นี้เรามาดู ESP32 with module Lora SX1276 ที่สามารถใช้งานผ่าน Lora Network ของ CAT ได้ ว่าเป็นยังไงกันบ้าง
                      Technical Parameters ESP32 with Module Lora SX1276 :
                      Flash: 32M-Bits
                      Processor: for Tensilica LX6 Dual Core
                      Master chip: ESP32
                      LoRa chip: SX1276
                      Support frequency band: 868-915MHZ
                      Open communication distance: 2.8KM
                      Computing capacity: up to 600DMIPS
                      Dual-mode Bluetooth: traditional Bluetooth and BLE low-power Bluetooth
                      Development environment: perfect support for Arduino
                      Operating voltage: 3.3-7V
                      Operating temperature range: -40-90 ℃
                      Receiver sensitivity: -139dBm (SF12, 125KHZ)
                      UDP continuous throughput: 135Mbps
                      USB adapter chip: CP2102
                      Support mode: Sniffer, Station, softAP and Wi-Fi Direct
                      Transmit power: 19.5dBm@11b, 16.5dBm@11g, 15.5dBm@11n
                      Data rate: 150Mbps @ 11n HT40, 72Mbps @ 11n HT20,
                      54Mbps @ 11g, 11Mbps @ 11b
                      จาก Spec จะเห็นว่ามันก็คืออุปกรณ์ ESP32 ที่มี WiFi และ Bluetooth แต่เพิ่ม Module การสื่อสาร LoRa SX1276 แถม Board ตัวนี้ยังต่อจอขนาด OLED 0.96 นิ้ว มาให้ในตัวอีกด้วย



                      สรุป : ESP32 เป็นชิป IC microcontroller 32 บิต หรือเรียกกันว่า MCU นั้นเอง และยังมี media หรือสื่อสัญญาณที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารเป็นทั้ง WiFi และบลูทูธเวอร์ชั่น 4.2 ในตัว (ในบทความนี้เราเพิ่ม Module LoRa มาให้เลือกใช้อีกหนึ่งตัวครับ) ESP32 สามารถเขียนได้ด้วย Lua, Python, JavaScript, C ซึ่งค่อนข้างจะเขียน Code และใช้งานง่ายกว่าอุปกรณ์อื่น ทำให้มีผู้ใช้งานจำนวนมาก Libraries ก็มีให้เลือกใช้หลากหลาย ราคาถูก เหมาะสำหรับงานถ้าใครอยากลองเล่น EPS32 ก็สามารถหาซื้อบน Internet ได้ทั่วไปเลยครับ

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

วิธีการ Connect/Config อุปกรณ์ CAT Starter Kit STM32 DISCO-L072Z-LRWAN1 ใช้กับ CAT LoRa Network


            วันนี้เราจะมาลองใช้งาน Board LoRa ที่เรา Pre Order มาจาก CAT กันดูครับ ว่าจะเชื่อมต่อระบบ LoRa Network ของ CAT ยังไงและต้องไป Config ค่าอะไรให้กับตัว Board บ้างคับ หลังจากที่ CAT เริ่มส่ง mail แจ้งรายละเอียด Keys ที่จำเป็นสำหรับเข้าใช้งานในระบบกันบ้างแล้ว แต่คุณต้องอยู่ในพื้นที่ที่มี GW ของ CAT ให้บริการนะครับ เท่าที่ทราบตอนนี้ คนที่มี Board แล้วสามารถมาทดสอบการเชื่อมต่อระบบได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้าหลักสี่ กทม ครับ โดยส่ง email ไปสอบถามทางทีมงานก่อนก็ได้ครับ ว่าเราอยากเข้าไปทดสอบ สามารถเข้าไปทดสอบได้ วันและเวลาอะไร ทางเจ้าหน้าที่จะมี Account สำหรับทดสอบการเชื่อมต่อให้ครับ


             อุปกรณ์ที่ CAT จัดส่งให้ในรอบแรก เป็น Starter Kit ค่าย STM รุ่น STM32 LoRa Discovery kit for L072 MCU B-L072Z-LRWAN1 หรือเรียกว่า DISCO-L072Z-LRWAN1 อย่างที่บอกในบทความก่อนหน้านี้ ว่า Borad นี้สามารถใช้งาน Lora และ Sigfox ได้ในตัวเดียวกัน แต่ในบทความนี้เราจะพูดึงการใช้งาน Lora เป็นหลักนะครับ มาดู Pins Legend ที่จะใช้งานบน Board กันก่อนว่ามีอะไรบ้าง







            ก่อนอื่นเลยต้องมีโปรแกรม 2 ตัวหลักๆเลย คือ Tera Term และ Keil uVision5 โดย Tera Term เราใช้สำหรับ Check DevAdd และดูการรับส่งสัญญาณ TX/RX ว่ามีการรับส่งสัญญาณเกิดขึ้นหรือไม่ ส่วน Keil uVision5 เราใช้เขียน Code ที่ต้องการให้ Board ทำงานตามที่ต้องการโดยต้อง Load Libraries LoRa เข้ามาใช้งานด้วย

           เข้าไป Download Tera Term ที่ https://osdn.net/projects/ttssh2/releases/ เลือก teraterm-4.98.exe เสร็จเรียบร้อยก็ NEXT Install ครับ



            เข้าไป Download Keil uVision5 ได้ที่ https://www.keil.com/download/product/ โดยเลือก MDK-Arm Version 5.25 (March 2018) จะเป็นหน้ากรอกรายละเอียดข้อมูลผู้ใช้งาน กด Submit web จะพาไปหน้า Download : MDK525.EXE (857,517K) เสร็จเรียบร้อยก็ NEXT Install ครับ
          เมื่อ Install เสร็จเรียบร้อยแล้วจะได้ Icon ประมาณนี้ ทีนี้ก็เปิดโปรแกรมคับ อ่อ โปรแกรมอาจจะต้อง Register เพื่อใช้งานโดยสามารถขอ Key เพื่อใช้งาน Free ได้ที่ website นะครับ

          เสียบสาย USB จะเห็นว่ามี ไฟสีแดงติดอยู่ 2 จุดบน Board (LD7 ,LD5) เปิด Tera Term ขึ้นมา เลือก Port Serial ที่เราใช้งาน เครื่องใครที่ Port ไม่ขึ้นอาจจะต้องลง Driver STSW-LINK009 ให้เครื่องเห็น Port ให้ได้ก่อนนะครับ


เรียบร้อยแล้วจะได้หน้าจอสีดำ ลองกดปุ่มสีดำ (RESET) บน Board ดูจะได้เป็นภาษาต่างดาวประมาณนี้ครับ


ไม่ต้องตกใจนะคับ ถือว่ามาถูกทางแล้ว Config Setup >Terminal เลือก Receive&Transmit เป็น CR+LF


Config Setup > Serial Port : 115200


ลองกดปุ่ม RESET ดูอีกทีจะเห็นข้อมูล DevEui,DevAdd,NwkSKey,AppSKey แสดงขึ้นมาประมาณนี้ครับ


           ทีนี้เรามาดู Config เพื่อเชื่อมเข้ากับ CAT Lora Network กันต่อ เอาค่าที่ทาง CAT แจ้งมา DevEui,DevAdd,NwkSKey,AppSKey มาใช้งาน โดยเข้าไป Login : https://loraiot.cattelecom.com/portal/login โดยใช้ User/Password ที่ได้รับแจ้งทาง Mail และเข้าไป Config ในระบบตามคู่มือ (คู่มือ) ที่แจ้งมา ขอไม่อธิบายนะครับ เพราะน่าจะดูได้ตามคู่มืออยู่แล้ว


             เรียบร้อยแล้วก็ Download Code สำหรับใช้งาน Board STM32 (ที่ I-CUBE-LRWAN หรือ ที่นี่) และเปิดด้วยโปรแกรม Keil uVision เลือกเปิด Project แล้ว Click ขวาที่ main folder : mlm32l07x01 > Options for Target

เลือก Tab : C/C++ แก้ไข Dfilne เปลี่ยน REGION_EU868 เป็น REGION_AS923 (STM32L072xx,USE_B_L072Z_LRWAN1,USE_HAL_DRIVER, REGION_AS923) เพื่อกำหนดให้ใช้งานความถี่ AS923 ของ CAT


กด Build (F7) เพื่อ load library ต่างๆก่อนนะคับ จะเห็นว่า หลังจาก build project แล้วจะมี subdirectory หน้า file Projects/End_Node > main.c ขึ้นมา


เลือก Projects/End_Node > main.c  เพื่อ กำหนด Class บรรทัดที่ 95 :
#define LORAWAN_DEFAULT_CLASS CLASS_C

เลือก Projects/End_Node > main.c > hw_conf.h เพื่อ Enable บรรทัดที่ 129 :
#define DEBUG

เข้าไปแก้ไขค่า Config ต่างๆใน Projects/End_Node > main.c > Commissioning.h โดยแก้ไขตัวแปรตามนี้ {ค่าต่างๆต้องอยู่ในรูปแบบ  0x01, 0x01 ,0x01, .... นะครับ}

#define OVER_THE_AIR_ACTIVATION       0
#define STATIC_DEVICE_EUI                        1
#define STATIC_DEVICE_ADDRESS            1
#define LORAWAN_DEVICE_EUI                 {DevEui}
#define LORAWAN_DEVICE_ADDRESS     ( uint32_t ){DevAdd}
#define LORAWAN_NWKSKEY                    {0x28, 0xAE, 0xD2, 0x2B, 0x7E, 0x15, 0x16, 0xA6, 0x09, 0xCF, 0xAB, 0xF7, 0x15, 0x88, 0x4F, 0x3C}
#define LORAWAN_APPSKEY                      {0x16, 0x28, 0xAE, 0x2B, 0x7E, 0x15, 0xD2, 0xA6, 0xAB, 0xF7, 0xCF, 0x4F, 0x3C, 0x15, 0x88, 0x09}

            Config นี้เป็นการเชื่อมต่อแบบ ABP นะครับ แก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้ว กด Rebuild Project เสร็จแล้ว กด Load เพื่อเขียน Code ลง Board จะเห็นว่าเวลา Load Code ไฟ LD5 จะมีการกระพริบถี่ๆ จนกว่าจะ Load เสร็จ

ที่นี้กลับมาดูที่ Tera Term กด RESET ที่ Board อีกครั้ง จะเห็นค่า Config ต่างๆที่เราแก้ไขไป (DevEui,DevAdd,NwkSKey,AppSKey ) Check ว่าถูกต้องรึหรือไม่

           ถ้าถูกต้อง Board จะส่งค่า TX/RX เข้าระบบ CAT Lora Network และจะขึ้นว่า txDone , rxDone กรณีที่ใช้งานได้ปกตินะครับ

          เข้าไป Check Logger อุปกรณ์ของเราที่ https://loraiot.cattelecom.com/portal/login เลือก DevEUI ของอุปกรณ์ที่ต้องการจะดู ว่ามีข้อมูลส่งเข้ามาในระบบหรือไม่


ส่วนจะไปเขียน Code เพื่อส่งค่า Sensor ต่างๆ เพิ่มเติมนั้น ค่อยมาต่อกันในบทความหน้านะครับ




CR : https://os.mbed.com/platforms/ST-Discovery-LRWAN1/
CR: CAT LoRa IoT Team


วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

CAT จัดส่งอุปกรณ์ LoRa รอบแรกตั้งแต่วันที่ 15 พฤษาคม 2561


          รอคอยกันมาอย่างยาวนาน ว่าเมื่อไหร่ CAT จะจัดส่งอุปกรณ์ LoRa ที่ให้ Pre Order ซะที ในที่สุดก็สิ้นสุดการรอคอยเมื่อข่าวแว่วมาว่าทาง CAT เตรียมจะจัดส่งอุปกรณ์รอบแรกภายใน 15 พฤษภาคม 2561 นี้ จำนวน 500 ตัว เช็ครายชื่อผู้โชคดีได้ของรอบแรกได้ที่ 02-104-3551 หรือใครที่ได้รับ mail จาก CAT แจ้งให้ชำระเงิน โดยมีรายละเอียดดังนี้

          ตามที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) ได้รับข้อมูลการสั่งสินค้า Pre-order ชุดอุปกรณ์ LoRa IoT by CAT ของท่าน ผ่านทาง http://loraiot.cattelecom.com นั้น บริษัทฯ ขอแจ้งรายละเอียดการสั่งสินค้า และขั้นตอนการชำระเงินอุปกรณ์ LoRa Starter Kit ตามเอกสารใบจองสินค้าเพื่อใช้ในการชำระเงินที่แนบมาด้วยนี้ ทั้งนี้ก่อนการชำระเงิน ขอให้ท่านได้ตรวจสอบรายละเอียดการสั่งสินค้า Pre-order อุปกรณ์ LoRa IoT by CAT และชื่อ-ที่อยู่ที่ออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีให้ถูกต้อง  โดยท่านสามารถชำระเงินค่าสินค้าได้ 2 ช่องทาง คือ
1. ชำระด้วยตนเองที่ศูนย์บริการลูกค้าแจ้งวัฒนะ ชั้น 1 โซน B เลขที่ 99 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
2. ชำระโดยการโอนเงินเข้าบัญชี “บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)” และส่งหลักฐานดังนี้ มาที่ iot@cattelcom.com
    2.1 รูปภาพหลักฐานการโอนเงิน
    2.2 ชื่อ-สกุล, ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี เพื่อใช้ในการออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี
    2.3 ชื่อ-สกุล, เบอร์โทรติดต่อ และที่อยู่สำหรับการจัดส่งสินค้า

          ในกรณีที่ท่านชำระด้วยวิธีที่ 1 สามารถติดต่อขอรับอุปกรณ์ LoRa Starter Kit ได้ทันที ส่วนการชำระในวิธีที่ 2 เมื่อท่านได้ส่งหลักฐานการชำระเงิน ทางบริษัทฯ จะดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของการชำระเงิน และจัดส่งสินค้าให้ท่านตามที่อยู่ในใบจองสินค้าโดยเร็วต่อไป
          ทั้งนี้ บริษัทฯ ต้องขออภัยเป็นอย่างสูง สำหรับการตอบกลับการสั่งจอง Pre-order อุปกรณ์ LoRa IoT by CAT ที่ล่าช้า อันเนื่องมาจากปัญหาการนำเข้าอุปกรณ์สู่ราชอาณาจักรที่ต้องผ่านกระบวนการที่ถูกต้อง และเพื่อเป็นขอบคุณลูกค้าที่รอคอยอุปกรณ์นี้ บริษัทฯ จะทำการขยายระยะเวลาใช้งานบริการ LoRa IoT by CAT จากเดิม 1 ปี เป็นสามารถใช้บริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562
          สำหรับผู้ที่สั่งสินค้า Pre-Order อุปกรณ์ LoRa Communication Module ด้วยนั้น ทางบริษัทฯ ขอเรียนแจ้งให้ทราบว่า ขณะนี้อุปกรณ์ดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนการนำเข้าสู่ราชอาณาจักร และเมื่อบริษัทฯ ได้รับสินค้าแล้ว จะรีบแจ้งให้ท่านทราบโดยเร็วต่อไป
          อนึ่ง ในกรณีที่ท่านได้ทำการสั่งจองสินค้าเป็นจำนวนมาก บริษัทฯ มีความจำเป็นต้องลดจำนวนสินค้าที่จัดส่งเพื่อให้เกิดการกระจายสินค้าได้อย่างทั่วถึงและต้องอภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

          ซึ่งคนที่ได้ต้องไปชำระเงินค่าอุปกรณ์พร้อมทั้งส่งรายละเอียดการชำระเงินดังกล่าวที่ mail : iot@cattelecom.com และกรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น รหัสบัตรประชาชนเพื่อออกใบกำกับภาษี ก็เป็นที่เรียบร้อย นอนรอของอยู่บ้าน ของน่าจะจัดส่งถึงภายใน 7 วัน ส่วนอุปกรณ์ที่ CAT จะจัดส่งให้ในรอบแรก แบบที่เป็น Starter Kit คือ อุปกรณ์ค่าย STM รุ่น STM32L072 (B-L072Z-LRWAN1) สามารถ Download คุํมือได้ ที่นี่ ความสามารถของ STM32L072 ทำอะไรได้บ้างมาดูกัน
STM32L072 (B-L072Z-LRWAN1)
          อุปกรณ์ใช้ Module SX1276 LoRa ของ Semtech และใช้ MCU Node ของ STM32 สามารถรองรับการใช้งานทั้ง LoRa/Sigfox ความถี่ 860 MHz to 930 MHz โดยจะรวมกัน เรียกว่า Murata Module และในตัว Board ยังมี Sensor วัดอุณหภูมิและไฟแสดงสถานะในตัว ถือว่าครบเครื่องในตัวเลยทีเดียว แต่ส่วนตัวแล้วรู้สึกว่า พวก STM32 เขียนโปรแกรมใช้งานค่อนข้างยากกว่า Arduino ส่วนตัวไม่ค่อยชอบค่ายนี้สักเท่าไหร่ 555 ในสเปคเค้าบอกว่ารองรับ Arduino ด้วยนะครับ แต่ผมยังไม่ได้ลอง เพราะไม่มี Board มีแต่ ESP8266

Key Features
  • CMWX1ZZABZ-091 LoRa® /Sigfox™ module (Murata)
    • Embedded ultra-low-power STM32L072CZ Series MCUs, based on Arm® Cortex® -M0+ core, with 192 Kbytes of Flash memory, 20 Kbytes of RAM, 20 Kbytes of EEPRO
    • USB 2.0 FS
    • 4-channel,12-bit ADC, 2xDAC
    • 6-bit timers, LP-UART, I2 C and SPI
    • Embedded SX1276 transceiver
    • LoRa® , FSK, GFSK, MSK, GMSK and OOK modulations (+ Sigfox™ compatibility)
    • +14 dBm or +20 dBm selectable output power
    • 157 dB maximum link budget
    • Programmable bit rate up to 300 kbit/s
    • High sensitivity: down to -137 dBm
    • Bullet-proof front end: IIP3 = -12.5 dBm
    • 89 dB blocking immunity
    • Low Rx current of 10 mA, 200 nA register retention
    • Fully integrated synthesizer with a resolution of 61 Hz
    • Built-in bit synchronizer for clock recovery
    • Sync word recognition
    • Preamble detection
    • 127 dB+ dynamic range RSSI
  • SMA and U.FL RF interface connectors
  • Including 50 ohm SMA RF antenna
  • On-board ST-LINK/V2-1 supporting USB re-enumeration capability
  • USB ST-LINK functions:
  • Board power supply:
    • Through USB bus or external VIN /3.3 V supply voltage or batteries
  • 3xAAA-type-battery holder for standalone operation
  • 7 LEDs:
    • 4 general-purpose LEDs
    • A 5 V-power LED
    • An ST-LINK-communication LED
    • A fault-power LED
  • 2 push-buttons (user and reset)
  • Arduino™ Uno V3 connectors
  • Arm® Mbed™ (see http://mbed.org)
          ในบทความหน้าเราจะมาดูวิธีการ Config และใช้งาน Board STM32 กันครับ







วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

อุปกรณ์ที่สามารถใช้งาน คลื่นความถี่ 923MHz LoRa by CAT ได้ต้องมี spec ยังไงบ้าง ??

            ช่วงนี้คงมีหลายๆคนเริ่มจะหาอุปกรณ์ไว้รอสำหรับใช้งานบน LoRa Network ของ CAT กันบ้างแล้วใช่มั้ยครับ วันนี้ผมจะมาแชร์ Spec เบื้องต้นของอุปกรณ์ที่จะใช้งานผ่านระบบ CAT ที่คลื่นความถี่ AS923MHz ได้

            ซึ่งจริงๆแล้ว คลื่นความถี่ 923MHz ที่ CAT ให้บริการนั้น มักไม่แสดงหรือบอกรายละเอียดใน Spec ของอุปกรณ์พวก LoRa ครับ เพราะส่วนใหญ่จะเขียนว่า support 433MHz/868MHz/915MHz อ่านแล้วบางคนอาจจะไม่แน่ใจว่าแล้วมันจะใช้กับ คลื่นความถี่ AS923MHz ของ CAT ได้จริงรึปล่าว

            ขออธิบายตามความเข้าใจของตัวเองละกันนะครับ ถูก -ผิด บอกกันได้เลยครับ เอาที่เราจะใช้งานกับ Lora Network AS923 MHz ของ CAT ก่อนละกันนะครับ ที่ Spec บอกว่า support 915MHz นั้นเพราะเค้าบอกในช่วงความถี่รวมครับ ซึ่งจริงๆมันคือ US915MHz ที่ครอบคลุมถึง AS923MHz นั้นเองครับ ดังนั้นเวลาเราดูว่าอุปกรณ์ Support Lora 915MHz ก็แสดงว่าสามารถนำมาใช้งานในระบบของ CAT ได้นั้นเอง แต่เวลาใช้งานเราต้องแก้ไข libraries LoRa ที่ใช้งานให้มาใช้ในความถี่ AS923MHz นะครับ
            และเพื่อความชัวร์ ดูแค่ Support 915MHz อาจยังไม่มั่นใจ เราดูที่รุ่น Module ที่ใช้งานก็ได้ครับ ส่วนใหญ่ 868-915MHz จะใช้ Module SX1276 และ 433MHz จะใช้ SX1278 ครับ

            ตัวอย่าง Spec LoRA ที่ใช้งาน AS923MHz :
            LoRa chip: SX1276
            Support frequency band: 868-915MHZ
            Operating voltage: 3.3-7V
            Operating temperature range: -40-90 ℃
            Receiver sensitivity: -139dBm (SF12, 125KHZ)
            UDP continuous throughput: 135Mbps

            รายละเอียดอื่นๆจะขึ้นอยู่กับความสามารถของอุปกรณ์นะครับ ยกตัวอย่างเช่น ESP32 : 868MHz-915MHz SX1276 ESP32 LoRa 0.96 Inch Blue OLED Display Bluetooth WIFI Lora Kit 32 Module IOT Development Board for Arduino
            Technical Parameters:
            Flash: 32M-Bits
            Processor: for Tensilica LX6 Dual Core
            Master chip: ESP32
            LoRa chip: SX1276
            Support frequency band: 868-915MHZ
            Open communication distance: 2.8KM
            Computing capacity: up to 600DMIPS
            Dual-mode Bluetooth: traditional Bluetooth and BLE low-power Bluetooth
            Development environment: perfect support for Arduino
            Operating voltage: 3.3-7V
            Operating temperature range: -40-90 ℃
            Receiver sensitivity: -139dBm (SF12, 125KHZ)
            UDP continuous throughput: 135Mbps
            USB adapter chip: CP2102
            Support mode: Sniffer, Station, softAP and Wi-Fi Direct
            Transmit power: 19.5dBm@11b, 16.5dBm@11g, 15.5dBm@11n
            Data rate: 150Mbps @ 11n HT40, 72Mbps @ 11n HT20,54Mbps @ 11g, 11Mbps @ 11b
            ที่แนะนำ ESP32 เพราะใช้งานง่ายครับ คราวหน้าผมจะมาพูดถึง Spec และความสามารถของ ESP32 เพิ่มเติมนะครับ

วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การขออุปกรณ์ IoT Lora ฟรี จาก CAT (Lora by CAT)


             ตามที่มีข่าวจาก CAT ว่าหน่วยงานที่สนใจพัฒนาอุปกรณ์สามารถติดต่อรอรับบอร์ดโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้นั้น เชื่อว่าหลายๆคนคงสนใจอยู่ไม่น้อย แต่จะต้องทำยังไงละ ในการขอรับอุปกรณ์ดังกล่าว Free แบบไม่มีค่าใช้จ่าย ก็ง่ายๆเลยคับ ส่ง mail รายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวกับหน่วยงาน และ Solution ที่ต้องการพัฒนา ไปทาง mail : iot@cattelecom.com หรือส่งข้อมูลตามแบบฟอร์มด้านล่างนี้เลยก็ได้คับ


             เพราะถึงส่ง mail รายละเอียดเบื้องต้นไป ทางทีมงานเค้าก็จะ mail แบบฟอร์มนี้กลับมาให้ใส่ข้อมูลเพิ่มเติมไปอยู่ดีคับ ส่งเสร็จก็รอกันต่อไป 555 ส่วนระยะเวลาผมเดาว่าน่าจะใช้เวลาพิจารณาอย่างน้อยประมาณ 3-5 เดือนกันเลยทีเดียว เพราะข่าวล่าสุดคือทาง ทีมกำลังจะดำเนินการส่งอุปกรณ์ให้กับผู้ที่ PreOrder ในรอบแรกให้ทันภายในเดือนพฤษภาคม 2018 นี้ ทั้งยังเรื่องการติดตั้ง Lora Gateway ที่เร่งจะติดตั้งในกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อให้ลูกค้าที่รับอุปกรณ์ไปในรอบนี้ สามารถใช้งานได้ก่อน

             และที่บอกว่าน่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 3-5 เดือนนั้นเพราะแว่วๆมาว่าทาง CAT เองได้มีการทำ MOU หรือข้อตกลงความร่วมมือกับมหาลัยฯต่างๆอีกหลาย 10 แห่ง ซึ่งคงต้อง Support partner ในส่วนนี้ก่อนเป็นอันดับแรกๆ ดังนั้นโอกาศที่บุคคลธรรมดา หรือบริษัทห้างร้านที่ไม่ได้ทำ MOU ร่วมกับ CAT คงแทบไม่มี แต่ก็คงต้องรอกันไปก่อนเพื่อว่า Solution ที่เราส่งไปอาจจะไปโดนใจทีมงาน 555
             จริงๆเรื่องการใช้งาน LoRa Network ของ CAT นั้น ทาง CAT แจ้งว่าผู้ใช้งานสามารถจัดหาอุปกรณ์จากภายนอกมาใช้งานได้เอง โดยจะเปิดให้ Register อุปกรณ์เพื่อใช้งานในระบบ LoRa Network แต่ก็ยังไม่มีวี่แววว่าทาง CAT จะเปิดให้คนภายนอกที่ไม่ได้ PreOrder กับ CAT เข้าใช้งานระบบได้เมื่อไหร่ อย่างน้อยคงมีอีกหลายเดือน

             ผมก็เป็นคนหนึ่งละที่กำลังรอว่าเมื่อไหร่ทาง CAT จะจัดส่งอุปกรณ์ที่ PreOrder ซะที รวมถึงรอใช้งานผ่านระบบ LoRa Network ที่จะให้บริการจริงๆซะที เย้ ^_^ (และก็แอบหวังว่าทาง CAT คงจะใจดีให้อุปกรณ์มาทดสอบ ฟรี ด้วย ถึงจะต้องรอนานหน่อยก็เถอะ +_+!! )

             หลายๆคนรอนานซะจนตัดสินใจไปใช้งาน NB-IoT กันบ้างแล้ว ผมเองก็คิดแล้วคิดอีก 555 แต่ก็คงรอนะ ช่วงนี้ก็ทดสอบ Private LoRa เล่นไปพลางๆก่อน


cr: Business Development Team LoRa IoT by CAT

วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561

พื้นที่ให้บริการ LoRa IoT by CAT ประจำเดือนเมษายน 2561


## update แผนการติดตั้ง Coverage phase1 LoRa IoT by CAT ประจำเดือนเมษายน 2561

                 ตามที่เคยมีการ Update ข้อมูลการติดตั้ง Gateway สำหรับใช้งาน LoRa IoT by CAT ไปในบทความก่อนหน้านี้แล้วนั้น (มารู้จัก LoRa IoT by CAT กันดีกว่า ???) ว่าทาง CAT จะทำการติดตั้ง Gateway LoRa ใน 13 จังหวัด และน่าจะสามารถเปิดให้ทดลองใช้งานได้ภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 และจะสามารถใช้งานทั่วประเทศได้ภายในปลายปี 2561 นั้น ก็ทำท่าว่าจะเจอโรคเลื่อนเอาซะแล้ว หลังจากที่ได้รับ email แจ้งแผนการติดตั้ง Coverage LoRa Phase1 ปี 2561 ว่าจะจะมีเฉพาะบางจังหวัดเท่านั้น ไม่ใช่ทั่วประเทศแบบที่แจ้งในตอนแรก แต่ก็จะเพิ่มจากเดิม 13 จังหวัดเป็น 21 จังหวัด รวมพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล



                 ซึ่งเราคงจะต้องรอดูกันต่อไปว่าจะสามารถใช้งานกันได้เต็มพื้นที่ที่แจ้งมาจริงๆรึปล่าว หรือแค่อาจจะใช้งานได้แค่บางพื้นที่ในจังหวัดดังกล่าวเท่านั้น ซึ่งก็คงต้องรอดูกันต่อไป
                 แต่เดียวก่อน CAT เองก็ยังเปิดโอกาสให้กับผู้ที่อยากจะใช้บริการ LoRa IoT by CATแต่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว แจ้งจุดที่มีความต้องการใช้บริการ โดยให้แจ้งรายละเอียดไปที่ อีเมล iot@cattelecom.com โดยมีข้อมูลที่จะต้องแจ้ง ดังนี้
  1. ชื่อบริษัท :
  2. พื้นที่ใช้บริการ หรือ สถานที่สำคัญใกล้บริเวณที่ต้องการใช้บริการซึ่งสามารถหาจาก google map ได้ หรือ Latitude, Longitude (ถ้าทราบ) :
  3. หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ :
  4. ประเภทการใช้งาน เช่น Smart Farming, Smart Lighting หรือบอกลักษณะการใช้งานของ Senso :
  5. จำนวน Sensor ที่คาดว่าจะใช้งาน :
                 ซึ่งทาง CAT เองก็คงจะรวบรวมข้อมูลความต้องการใช้งาน LoRa ในพื้นที่ต่างๆ เพื่อทำ Planning ในการวางจุดติดตั้ง Gateway สำหรับให้บริการ LoRa ต่อไปในอนาคต

cr: Business Development Team LoRa IoT by CAT


วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2561

มารู้จัก LoRa IoT by CAT กันดีกว่า ???


มารู้จัก LoRa IoT by CAT กันดีกว่า ???
              ก่อนอื่นเรามารู้จักกับ LoRa กันก่อนนะคับ Lora มาจากคำว่า Long Range ซึ่งก็มาจากความต้องการที่จะสื่อสารข้อมูลแบบไร้สายที่สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างไกล โดยเน้นการใช้พลังงานต่ำ (Low Power Wide Area Network : LPWAN) ซึ่งเหมาะกับงานประเภท IoT หรือ Internet of Things นั่นเอง
             เทคโนโลยี LoRa เกิดจากการเลือกใช้มอดูเลชันแบบ chirp spread spectrum โดยจะกระจายรหัสข้อมูลไปในช่องความถี่ต่างๆด้วยการปรับแต่งค่า spreading factor (SF) ตั้งแต่ SF7-12 ทำให้มีความไวต่อการรับสัญญาณมากขึ้น ทนทานต่อสัญญาณรบกวนสูง และยังกินพลังงานต่ำลงด้วย แต่การส่งข้อมูลก็จะช้าลง-น้อยลงตามจำนวนช่องสัญญาณที่ใช้ด้วย ซึ่ง Semtech เป็นเจ้าของเทคโนโลยี และเป็นผู้พัฒนา ตัวชิพสื่อสาร ทั้งนี้ตัวชิปเองจะทำงานเพียงระดับ PHY (half duplex) และบางฟีเจอร์ของเลเยอร์ Data Link (ตรวจจับ preamble แล้วจับเฟรมข้อมูล)เท่านั้น โดยจะส่งผ่านข้อมูลไปยังหน่วยประมวลผลที่จะต้องจัดการส่วนโพรโทคอลในชั้นที่เหลือเอง

จุดเด่นที่สำคัญๆของ เทคโนโลยี LoRa นั้น จะเน้นเรื่องการใช้พลังงานที่ต่ำมาก สามารถทำงานโดยแบตเตอรี่ได้หลายปี และยังส่งข้อมูลได้ค่อนข้างไกล จากที่เห็นผู้พัฒนาหลายๆท่านได้ลองทำการทดสอบ ระยะทางการส่งสัญญาณ ของ Gateway ก็ได้ 20 -40 Km เลยที่เดียว แต่การใช้งานในเมืองน่าจะได้ 5 - 10 Km เท่านั้น  นอกจากนี้ ยังสามารถเชื่อมต่อ Gateway เข้ากับเครือข่าย Internet เพื่อใช้งานร่วมกันเป็นโครงข่าย เรียกว่า LoRAWAN อีกด้วย


             และในปี 2561 นี้ ทาง CAT ก็กำลังจะเปิดให้บริการ LoRa IoT by CAT โดยใช้คลื่นความถี่  920-925 MHz หรือย่านความถี่แบบ unlicensed band สามารถใช้งานได้ โดยที่ไม่ต้องขออนุญาต กสทช (ถ้ากำลังส่งไม่เกิน 500 mWatt ) โดยจะเริ่มมีพื้นที่ให้บริการใน 13 จังหวัด รวมกรุงเทพฯ ด้วย ผมซึ่งประมาณการว่าน่าจะสามารถเปิดให้ใช้บริการได้ภายในปลายไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 นี้ และอาจจะสามารถให้บริการได้ทั่วประเทศภายในต้นปีหน้า

             สำหรับการใช้บริการ LoRaWAN ของ CAT นั้น ทาง CAT คิดค่าบริการต่อปี ปีละ 300 บาท/อุปกรณ์ และทาง CAT เองก็มีการเปิดให้ PreOrder อุปกรณ์ LoRa Module ราคา 590  บาทและ LoRa Starter Kit ราคา 1,290 บาท ฟรีค่าบริการรายปี 300 บาท ในปีแรก ทางหน้า web : https://loraiot.cattelecom.com/  สำหรับรายละเอียดหรือ Spec ของอุปกรณ์ทาง CAT ยังไม่มีให้ Download นะครับ


             โดยผู้ที่สนใจจะต้องกรอกข้อมูลเบื้องต้น เพื่อทำการ Pre Order อุปกรณ์ และจะได้รับ mail จาก CAT เพื่อยืนยันการสั่งอุปกรณ์อีกครั้ง (ระยะเวลาที่ได้รับ mail อาจจะนานหน่อยนะครับ เพราะผมเองกว่าจะได้ก็ประมาณ 2 เดือน แต่เห็นรอบหลังๆน่าจะได้รับ mail เร็วขึ้นกว่าเดิมแล้ว) ซึ่งอุปกรณ์ก็น่าจะได้ประมาณช่วงปลายไตรมาส 2 ปี 2561 ใกล้ๆกันกับการเปิดให้บริการ หรือทดสอบระบบใน 13 จังหวัดที่กล่าวมาครับ


             แถมยังประกาศจะให้อุปกรณ์ "สำหรับหน่วยงานที่สนใจพัฒนาอุปกรณ์สามารถติดต่อรอรับบอร์ดโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ด้วย" (cr:https://www.blognone.com/node/101018) อีกด้วย  ซึ่งผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่โทรเข้าไปสอบถามกับทาง CAT มาแล้ว และเค้าก็ให้ส่ง email แจ้งรายละเอียดความสนใจ ระบบที่พัฒนา ความจำเป็น และรายละเอียดของเรา ไปให้พิจารณาก่อน ที่ iot@cattelecom.com ซึ่งก็คงต้องรอลุ้น email ตอบกลับมาก่อนว่าจะให้จริงหรือไม่ให้ 555
             แต่สำหรับคนที่คิดจะหาอุปกรณ์เอง ก็สามารถหาได้ทั่วไปทาง Internet ครับ ขอแค่ Spec รองรับการใช้งานความถี่ US915 ได้ ก็สามารถใช้งาน AS923 ที่ CAT จะให้บริการอยู่ได้แล้วครับ
             ทีนี้เพื่อนๆคงรู้จัก LoRa IoT by CAT กันคราวๆแล้วนะคับ ถ้าใครมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมกับทาง CAT ได้ทาง email : iot@cattelecom.com หรือ โทร. 02-104-4283,4829 ได้โดยตรงเลยนะครับ

*** รอบหน้าผมจะมาอธิบายวิธีการทำงานของเทคโนโลยี LoRa ว่ามันส่งข้อมูลกันยังไง มีข้อจำกัดแบบไหน(เอาเท่าที่ผมเข้าใจนะครับ) และการวิธีใช้งาน LoRa ผ่าน โครงข่ายของ CAT ว่าต้องทำอย่างไรบ้างถึงจะใช้งานได้ครับ


cr : https://loraiot.cattelecom.com/