วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

3G คืออะไร ?

วันที่ 16 ตุลาคม 2555 เป็นวันที่ กสทช. ได้ทำการเปิด ประมูลใบอนุญาต 3G บนคลื่อนความถี่ 2.1 Hz teen.mthai ก็เลยนำ เกร็ดความรู้ เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับเจ้า 3G นี้มาฝากเพื่อนๆกันคับ ว่าที่ทำไมต้อง 3G แล้วมันดีอย่างไร? ไปดูกันเลย ^^

3G คืออะไร?

3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลที่มีข้อจำกัดอยู่มาก 3G จึงเป็นการพัฒนาให้สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ในปริมาณที่มากกว่า เร็วกว่า ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายจำนวนมากขึ้น จนเกิดเป็นบริการใหม่ๆ หลายอย่าง ซึ่งสามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้มากยิ่งขึ้น
ลักษณะการทำงานของ 3G เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ที่สามารถรับส่งข้อมูลได้ในปริมาณที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น รวมถึงการใช้บริการมัลติมีเดียได้สมบูรณ์แบบขึ้น เช่น บริการส่งแฟกซ์ โทรศัพท์ต่างประเทศ  รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่  ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร รับ-ส่งไฟล์งาน ดาวน์โหลดเพลง เปิดคลิปวีดีโอออนไลน์แบบไม่สะดุดเป็นต้น

มาตรฐาน 3G (UMTS = Universal Mobile Telephone System) หรือเรียกกันในชื่อของเทคโนโลยี WCDMA (Wide Band Code Division Multiple Access) ที่มีการใช้งานและพัฒนากันมากว่า 10 ปีแล้ว โดยเปิดให้บริการบนความถี่ที่ต่างกันไป ขึ้นอยู่กับพื้นที่การใช้งานของแต่ละประเทศหรือเขตทวีป โดยมีการแบ่งมาตรฐานของความถี่ที่ใช้เอาไว้ 5 ความถี่ด้วยกันคือ
  • 2100 MHz เป็นความถี่แรกของมาตรฐาน 3G WCDMA โดยใช้กันแพร่หลายมากที่สุดทั่วโลก โดยมีการใช้ในทวีปยุโรป เอเชีย แอฟริกา ออสเตรเลีย
  • 1900 MHz ใช้กันแพร่หลายในแถบทวีปอเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้
  • 1700 MHz มีใช้กันในประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
  • 850 MHz  ใช้กันมากในแถบทวีปอเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ ในเอเชียมีประเทศ ออสเตรเลียและไทย
  • 900 MHz  ใช้กันแพร่หลายในยุโรป เอเชีย แอฟริกา ออสเตรเลีย หรือประเทศที่ให้บริการ GSM ในความถี่ 900 MHz แล้วมีการอัพเกรดระบบมาเป็น 3G บนความถี่เดิม
 3G ในประเทศไทย
           ย้อนกลับไปที่การสัมปทานคลื่นความถี่ในการให้บริการโทรศัพท์มือถือ เริ่มจากระบบ GSM ในยุคก่อน (โทรออก-รับสาย รับส่ง SMS) ก็จะมี AIS, DTAC, TAO (TA Orange ในสมัยนั้น) ต่อมาเป็นยุคของ GPRS จากนั้นต่อกันที่ยุคของ EDGE หรือเรียกเล่นๆว่า 2.5G และมีระบบ W-CDMA ถ้าใครยังจำกันได้ สมัยนั้นมีค่ายมือถือ Thai Mobile ด้วย และหากย้อนความกลับไปก่อนที่ TruemoveH จะเกิด ก็มี Hutch-CAT ให้บริการเครือข่าย CDMA บนความถี่แบบ 1x EV-DO
ในยุค 2G (โทรสนทนาปกติ, รับส่งข้อความ SMS)
- คลื่นความถี่ 900MHz คือ AIS (หลังจากนั้น AIS ก็นำคลื่นความถี่เดียวกันนี้ มาทำ 3G)
- คลื่นความถี่ 850MHz คือ DTAC/Truemove/DPC อย่าจำสับสนกับระบบโทรศัพท์ 1800MHz (ภายหลัง dtac, Truemove ก็ทดลองใช้ 3G บนคลื่นความถี่ 850MHz เหมือนกัน)
- คลื่นความถี่ 1900MHz ได้แก่ Thai Mobile (คือ TOT + CAT นั่นเอง)
- ในขณะที่ Hutch+CAT ให้บริการ CDMA 2000
- และล่าสุด ปีที่แล้ว Truemove + CAT ให้บริการ TruemoveH โดยใช้คลื่นความถี่ 3G เดิมคือ 850MHz
- TOT ให้บริการบนคลื่นความถี่ 2100MHz แล้วให้ผู้ให้บริการรายต่างๆ อย่าง i-mobile, i-kool เป็นคนทำตลาดให้ แล้วเช่าเสาทำ MNVO  ยุคถัดไปมีคลื่นใหม่คือ 2.3GHz (TOT) และ 2.6GHz ยังไม่มีรายใดเป็นเจ้าของคลื่น ซึ่งตรงนี้คือยุคของ LTE ซึ่งจะก้าวเข้าสู่ยุค 4G Candidate ในที่สุด

ที่นี้ทำไม 3G ต้องแบ่งเป็นหลายคลื่นความถี่ล่ะ?
           แล้วทำไมต้องขายเครื่องแยกด้วยล่ะ ในสมัยที่เราโทรออก – รับสายนั้น เรามักจะเลือกซื้อเครื่องพร้อมเบอร์ เพราะ AIS เป็นคลื่น 900MHz, Dtac, Truemove เป็นคลื่น 1800MHz และตอนนั้นมี DPC หรือ GSM 1800 เป็นคลื่น 1800MHz สมชื่อ แต่พอเป็นยุค 3G แล้วก็ต้องเลือกอุปกรณ์ให้ตรงกับคลื่นความถี่
จากสาเหตุที่เครือข่ายให้บริการ 2G และ 3G คนละความถี่ ทำให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ จำเป็นจะต้องนำตัวเครื่องอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือมาจำหน่ายเอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้บนเครือข่ายของตน และบางรุ่นหากผู้ให้บริการไม่ได้นำเข้ามาขายอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้ก็จะไปหาเครื่องนอกที่รองรับเครือข่ายของตนมาใช้งานแทน ดังนั้นจะเห็นว่า การประมูลคลื่นความถี่ 3G นั้นจะเป็นตัวกำหนดอุปกรณ์การใช้งานของเรา หากใครยังจำได้ iPhone 3GS ไม่สนับสนุน 3G 900MHz ของ AIS ดังนั้นผู้ใช้ iPhone 3GS จะใช้งาน 3G ได้เต็มประสิทธิภาพเฉพาะบน 3G dtac และ truemove เท่านั้น เช่นเดียวกับที่หลายๆคนเคยสงสัยว่า ทำไมสมาร์ทโฟนจึงมีการแยกขายเครื่องแต่ละผู้ให้บริการ เนื่องจากมีการปรับแต่งให้เหมาะสมกับความถี่ 3G ของแต่ละค่ายนั่นเอง            เมื่อเข้าใจพื้นฐานแล้ว ว่าแต่ละค่ายตอนนี้ใช้คลื่นความถี่ใดอยู่ ก็ลองมาดูว่า คลื่น 850MHz นั้นดีอย่างไร

ทำไมต้องเป็น my 3G บนคลื่นความถี่ 850MHz?


           ในเชิงเทคนิค แถบคลื่นความถี่ต่ำ 850 MHz จะให้บริการในพื้นที่ครอบคลุมกว่าแถบคลื่นความถี่สูง  และด้วยความถี่เดิมที่ กสท มีใช่งานอยู่ก่อนแล้วทำให้สามารถ Up cell site ที่มีอยู่เหล่านั้นให้สามารถให้บริการ 3G ได้เลยทันที โดย กสท เลือกที่จะให้บริการ 3G ด้วยเทคโนโลยี HSPA/WCDMA โครงข่ายปัจจุบันรองรับการใช้งานสูงสุดที่ความเร็ว 42 Mbps. ปัจจุบัน เปิดให้ใช้งานที่ DL Speed 21 Mbps. / UL Speed 5.76 Mbps.  พื้นที่ให้บริการครอบคลุมครบ 77 จังหวัด

my commitment

มาดูข้อมูล 3G my เพิ่มเติมกันดีกว่า

credit by :: if2u

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น