Cloud Computing
ในปัจจุบันนี้ทุกท่านคงจะได้ยินคำว่า Cloud Computing หรือการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ กันมาบ้างแล้ว ซึ่งเป็นการนำคำว่า Cloud หรือกลุ่มเมฆ เป็นสัญลักษณ์แทน Internet และ Computing ก็หมายถึงการประมวลผล เมื่อนำมารวมกันก็คือ การประมวลผลผ่าน Network หรือ Internet นั่นเอง
ดังนั้น Cloud Computing ก็คือรูปแบบของการประมวลผลที่มีความสามารถในการทำงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลสารสนเทศ ที่มีการจัดสรรในรูปแบบของบริการ (as a service) ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการต่างๆ จากผู้ให้บริการใดบริการหนึ่งกับผู้ใช้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ โดยผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องรับทราบว่ามีเซิร์ฟเวอร์ติดตั้งอยู่ที่ไหนและมากเท่าใด สนใจเพียงแต่บริการที่ได้รับเท่านั้น
ซึ่งประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีแบบ Cloud computing ก็คือ
- Scalability : ความสามารถในการปรับเปลี่ยนขนาด สามารถขยายหรือลดโครงสร้าง ยืดหยุ่นตามความต้องการใช้งานจริงในแต่ละช่วงเวลา และสามารถทำงานร่วมกับแพลทฟอร์มที่หลากหลายได้
- Reliability : ความเชื่อถือได้ โดยการที่สามารถดึง resource ในการประมวลผลจากหลายแหล่ง ทำให้ระบบพร้อมให้บริการตลอดเวลา (Redundant) ป้องกันการล่มของระบบได้
- Performance : เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและมีความเสถียรของระบบ แต่อาจต้องมีระบบสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพด้วย
- Minimized Capital expenditure : ลดต้นทุนและลดภาระต้นทุนเกี่ยวกับการติดตั้งและบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์ประมวลผลขนาดใหญ่
- Device and Location Independence : อุปกรณ์และสถานที่ตั้งไม่ขึ้นต่อกัน ผู้ใช้สามารถเรียกดูข้อมูลได้จากทุกแห่งทั่วโลกที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ และสามารถใช้อุปกรณ์ได้หลากหลายรูปแบบ (คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่)
Cloud Computing นั้นมีด้วยกัน 3 รูปแบบ ซึ่งเหมาะกับกลุ่มผู้ใช้ที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่
Software as a Service (SaaS) คือการที่ผู้ใช้ทั่วไปสามารถใช้ซอฟแวร์ที่ติดตั้งไว้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ โดยที่ตนเองไม่ต้องติดตั้งซอฟแวร์เหล่านั้นลงบนเครื่องของตนเองเลย แต่สามารถเข้าถึงซอฟแวร์ผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ต่างๆ ได้ บริการอย่าง facebook, Microsoft Office 365 ก็ถือเป็นการให้บริการในลักษณะนี้
Platform as a Service (PaaS) คือการที่นักพัฒนาเช่าใช้ทั้งระบบ ตั้งแต่การพัฒนา, การทดสอบ, การผลิตแอพพลิเคชั่น ฯลฯ และชำระค่าเช่าเฉพาะเวลาที่ใช้งานจริงเท่านั้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มาก เหมาะกับกลุ่มธุรกิจ Startup และบริษัทต่างๆ บริการประเภทนี้ยกตัวอย่างเช่น Windows Azure
Infrastructure as a Service (IaaS) คือการที่นักพัฒนาหรือผู้ประกอบการเช่าใช้สถานที่, เซิร์ฟเวอร์ และระบบเครือข่ายได้ตามต้องการโดยที่ไม่ต้องควบคุมดูแลรักษาระบบด้วยตนเอง
การอิมพลีเมนต์ระบบ Cloud Computing นั้นมีด้วยกัน 3 รูปแบบ เพื่อรองรับการใช้งานที่แตกต่างกัน และหมดห่วงเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล
Private Cloud - คือระบบที่ทำงานอยู่บน Cloud และบริหารจัดการโดยบริษัทเพื่อการใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น ผู้ให้บริการและผู้ใช้สามารถควบคุุมและปรับปรุงระบบความปลอดภัยได้ด้วยตนเอง
Public Cloud - คือ Cloud แบบสาธารณะที่ดูแลจัดการโดยผู้ให้บริการภายนอกผ่านอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้จะมีสิทธิในการควบคุมที่จำกัดขึ้นอยู่กับการมอบสิทธิของผู้ให้บริการ Public Cloud มีทั้งบริการที่เสียค่าใช้จ่าย อาทิเช่น Windows Azure, SQL Azure และบริการฟรี เช่น Windows Live เป็นต้น
Hybrid Cloud - คือระบบที่ผสมผสานระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud ทำให้สามารถทำงานเชื่อมต่อกันได้ ผู้ใช้สามารถขยาย Data Center ไปยัง Public Cloud เพื่อการใช้งานเฉพาะอย่าง และยังกลับมาใช้ Private Cloud ได้เมื่อต้องการเช่นกัน
แม้ว่าเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆจะมีประโยชน์มากมายก็ตาม แต่ก็อาจมีประเด็นด้านความปลอดภัย หลายด้านอาทิเช่น เมื่อมีการส่งข้อมูลขององค์กรไปยังเครือข่ายสาธารณะ จะเชื่อมั่นได้อย่างไรว่าการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายมีความปลอดภัย? ในทุกขั้นตอนของการส่งข้อมูล การประมวลผล การรักษาผลลัพธ์ที่ได้นั้นเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าข้อมูลดังกล่าวเชื่อถือได้ ผู้ให้บริการมีมาตรการเก็บรักษาข้อมูลของลูกค้าอย่างไร? มั่นใจได้อย่างไรว่าผู้ให้บริการจะรับผิดชอบต่อข้อมูลของเรา และข้อมูลที่ประมวลผลเสร็จแล้วจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ? ซึ่งเป็นประเด็นที่ทำให้ผู้ใช้บริการยังขาดความมั่นใจและเชื่อมั่นในการใช้งานดังกล่าวได้ แต่อย่างไรก็ตามก็ได้เกิดหน่วยงาน Cloud Security Alliance (CSA) เพื่อมีหน้าที่ในการจัดทำวิจัยและเผยแพร่ความรู้ในประเด็นด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบการประมวลผลแบบ Cloud โดยเฉพาะ ซึ่งได้มีการจัดอันดับภัยคุกคาม เทคโนโลยี และการเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยสำหรับระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Security Technology for Cloud Computing) สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานระบบ Cloud ได้มากยิ่งขึ้น
- Trend Micro กับเทคโนโลยีป้องกันไวรัสแบบ Cloud Security ซึ่งสามารถให้บริการเกี่ยวกับ Anti-Virus, Anti-Spam Anti-Spyware, Web Threat Protection (ป้องกันภัยคุกคามทางเว็บไซต์), Parental Controls (โปรแกรมควบคุมสำหรับผู้ปกครอง) และ Data Theft Prevention (การป้องกันโจรกรรมข้อมูล) เรียกได้ว่าครบเครื่องความปลอดภัยที่ต้องการ
- Symantec ได้มีการให้บริการทางด้านความปลอดภัยผ่านเทคโนโลยี Cloud Computing ในนาม Symantec.cloud โดยมีบริการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับ Anti-Virus, Anti-Spam, Email Continuity, Email Archiving, Web Security Service, Content Control เป็นต้น ซึ่งนับได้ว่าเป็นผู้ให้บริการการรักษาความปลอดภัยที่ยอมรับในระดับโลก ทำให้ผู้ใช้สามารถวางใจได้มากยิ่งขึ้นว่าข้อมูลที่สำคัญยิ่งขององค์กร
- McAfee ก็ได้มีการเปิดตัว McAfee Cloud Platform ในการรักษาความปลอดภัยทั้งอีเมล์ขาเข้า-ขาออก Web และ identity traffic โดยเป้าหมายคือการตรวจจับทราฟฟิกทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างธุรกิจและระบบบน Cloud
- Panda ก็ไม่น้อยหน้าได้มีการอัพเดทเวอร์ชั่นล่าสุด Panda Cloud Antivirus 1.1.0 Final เป็นโปรแกรมสแกนไวรัสรูปแบบใหม่ในการกำจัด Virus, Spyware หรือ Malware โดยระบบใหม่นี้เปลี่ยนแนวคิดของโปรแกรมเดิม ๆ คือ การออกแบบให้โปรแกรมมีขนาดเล็ก เบา กินพื้นที่ และทรัพยากรเครื่องน้อย ในขณะเดียวกันได้ย้ายการทำงานหลักๆ ออกไปทำงานบน Cloud server แทน ไม่ว่าจะเป็น Real-time protection, fully scanning และข้อมูลของไวรัสที่ออกมาใหม่ ๆ
credit by ::
http://www.catcyfence.com/it-security/article/cloud-computing-security/
http://thumbsup.in.th/2012/10/vocabulary-cloud-computing/
อย่างไรก็ตามภาครัฐและเอกชนเองดูจะชอบและเห็นด้วยกับแนวความคิดของ Cloud Computing อยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว เห็นได้จากการลงนามความร่วมมือระหว่าง กสท หรือ CAT และ IBM ในการให้บริการ Cloud เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2556 ที่ผ่านมาและมีงานแถลงข่าวในวันที่ 4 เมษายน 2556 หรือแม้กระทั้งข้อสอบขอหน่วยงานราชการบางหน่วยงานที่หยิบเรื่องของ Cloud Computing มาเป็นข้อสอบในการคัดเลือกบุคคลากรทางด้าน IT ของตนเอง เห็นได้ชัดว่าอีกหน่อยทุกอย่างจะถูกรวมอยู่ที่กลางเพื่อให้บริหารจัดการง่ายและลดต้นทุนในเรื่องของซอฟแวร์ลงอย่างมาก
แต่แนวความคิดของ Cloud Computing ก็ยังเป็นที่ลังเลของหน่วยงานหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการทหารอยู่ดี เพราะใครจะรับรองได้ว่าข้อมูลทั้งหมดจะปลอดภัย 100% เมื่อเกิดการรั่วไหลของข้อมูลเหล่านี้จะเกิดความเสียหายร้ายแรงกับผู้ประกอบการและเจ้าของข้อมูลเลยทีเดียว
credit by :: iF2u
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น